17 ปี สถาบันการเงินชุมชน ไปถึงไหนแล้ว
บทนำ
บทความนี้เป็นการทบทวนแนวคิดการพัฒนาระบบการเงินที่สนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก จากกองทุนหมู่บ้านที่มีความพร้อมสู่ธนาคารหมู่บ้าน ที่ให้โอกาสประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548
การดำเนินงานในช่วงปี 2548-2549
ปี พ.ศ. 2548
ดามที่ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติเป็นประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2549 ลงวันที่ 5 มกราคม 2549 นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ติดตามการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ได้เกิดปัญหาและอุปสรรดที่มีผลเชิงนโยบาย ซึ่งกระผมได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานตามโครงการขอขยายวงเงินโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานและแจ้งชักซ้อมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ในแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ขอขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินตามโครงการดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การบริหารจัดที่ดี (AAA)ตามผลการประเมินประสิทธิภาพกองทุนของ สทบ, และ 2) เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนที่ปลอดยาเสพติด
1.2 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ต้องผ่านขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ ให้ความเห็นชอบ ก่อนแจ้งไปยัง
คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด และสถาบันการเงินพิจารณาการอนุมัติเพื่อขยายวงเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับการขยายวงเงินแล้วจำนวนทั้งสิ้น 37,605 กองทุน โดยจำแนกเป็นการขยายวงเงินจากธนาคารออมสิน จำนวน 4,949 กองทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 39,690 กองทุน และธนาคารกรุงไทย จำนวน 966 กองทุนในขณะที่มีกองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดี (AAA) ตามผลการประเมินประสิทธิภาพกองทุนของ สทบ. จำนวน 24,402 กองทุน
เมื่อพิจารณาแล้วมีกองทุนที่ได้รับการขอขยายวงเงินสูงกว่ากองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดี (AAA) จำนวนถึง 12,703 กองทุน โดยเป็นกองทุนที่ได้รับการขยายวงเงินจาก ธ.ก.ส.เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุมาจากนโยบายของธนาคารในการตั้งเป้าหมายเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพหรือความพร้อมของกองทุน และอาจเป็นปัญหาการส่งเงินคืนชำระเงินกู้จากสถาบันการเงินได้
เพื่อการแก้ไขปัญหาตังกล่าว นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้มอบหมายให้ทั้ง 3 ธนาคาร คำเนินงานตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนปฏิบัติโดรงการขยายวงเงินกู้ของ สทบ, หากธนาคารใดไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ขอให้ระงับการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณซ์ และให้ดำเนินการครวจสอบการสนับสนุนวงเงินที่ขอขยายไปแล้วเป็นไปตามแนวทา ทางการปฏิบัติหรือไม่อย่างไร
2.การขยายวงเงินสำหรับจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
เป้าหมาย
มคิคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558 ได้กำหนดวงเงินการจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไม่เกิน 80,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอแก่การจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านตั้งใหม่ จำนวน 1,321 กองทุน วงเงิน 1,321 ล้านบาท และกองทุนที่บริหารจัดการดีที่ยั่งไม่ได้โอนเงินให้ จำนวน 1,752 กองทุน วงเงิน 179.2 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ยังไม่เพียงพอแก่การจัดสรรและโอนเงินทั้งสิ้น 1,500.2 ส้านบาท
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้เสนอคณะรัฐมนตรีและมีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 อนุมัติให้ขยายวงเงินสำหรับการจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป้าหมายจากกำหนดจากที่กำหนดไว้เดิม จำนวน 80,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 81,500 ล้านบาท
การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 ได้อนุมัติจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมืองที่ผ่านมาประเมินความพร้อม จำนวน 458 กองทุน โดยจำแนกเป็นหมู่บ้นจัดตั้งใหม่ จำนวน 400 กองทุน กองทุนหมู่บ้านเดิม จำนวน 12 กองทุน และกองทุนชุมชนเมือง จำนวน 46 กองทุน วงเงินรวม 458 ล้านบาทและจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้นที่มีการบริหารจัดการที่ดี จำนวน 184 กองทุน เป็นเงิน 18.4 ล้านบาท
3. การคำเนินงานด้านสวัสดิการ เครื่อข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือประธานเครื่อข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำโครงการสวัสดิการรากหญ้าเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมระเบียบข้อบังคับ ว่าด้วยโครงการสวัสดิการรากหญ้า เมื่อพิจารณาแล้วเป็นโครงการเชิงธุรกิจประกันชีวิต และอาจมีผลเสียต่อการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอนาคต นายสุวิทย์ คุณกิตติ จึงได้แจ้งให้ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ระงับโครงการอันเนื่องมาจากผลกระทบ ดังนี้
3.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ไม่มีนโยบายที่จะให้เครือข่ายกองทุน ฯ ดำเนินธุรกิจ หรือโครงการที่มีลักษณะเชิงธุรกิจ
3.2 เครือข่ายกองทุน ฯ ไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่สามารถทำนิติกรรม ธุรกรรม สัญญา โดยผู้แทนนิติบุคคล หากแต่การกระทำใด ๆ ของผู้แทนเครือข่ายกองทุน ฯ ผูกพันเฉพาะบุคคลนั้น ๆ
3.3 โครงการสวัสติการรากหญ้าดังกล่าวอาจมีปัญหาข้อกฎหมายอื่น ๆ กล่าวคือหากมีลักษณะเข้าข่ายเชิงธุรกิจการประกันชีวิต ดังนั้นเมื่อดณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะกรรมการเครือข่ายกองทุน ฯในระดับต่าง ๆ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไป อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 18 และมาตรา 19 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 71 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 อีกทั้งอาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาต าตรา 4 และมาตรา 5 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเดิม พ.ศ.2535
3.4 ยังไม่มีระเบียบว่าด้วยเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในระดับต่างๆขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำระเบียบตังกล่าว
ทั้งนี้ ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดทราบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบ และเกิดผลเสียหายต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พร้อมจัดระชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจแก่เลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุน ฯ ระดับจังหวัด ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับจังหวัดของทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประธานเครือช่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับอำเภอในบางอำเภอแล้ว
4. การประเมินศักยภาพการจัดชั้นมาตรฐานกองทุนสำหรับกองทุนชุมชนกองทัพบก เพื่อดำเนินงานโครงการเพิ่มทุนและขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมซนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้เสนอความเห็นให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พิจารณาดังนี้
4.1 เห็นควรให้มีการประเมินศักยภาพการจัดชั้นมาตรฐานกองทุนสำหรับกองทุนชุมชนกองทัพบกที่ได้รับการโอนเงิน 1 ล้านบาท และดำเนินการครบ 1 ปีแล้ว โดยใช้แบบสอบถามและตัวชี้วัดเช่นเดียวกับที่ สทบ. ดำเนินการอยู่แล้ว
4.2 สำหรับรูปแบบ วิธีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลให้คณะอนุกรรมการโครงการนำร่องกองทุนชุมชนกองทัพบกกำหนดแนวทางดำเนินการ
4.3 เห็นควรโอนเงินงบประมาณให้กับกองทัพบก โดยให้อนุกรรมการโครงการนำร่องกองทุนชุมชนกองทัพบกเป็นผู้เบิกจำย จากงบประมาณ สทบ. ปี 2548 ผลผลิต ที่ 1 การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ต้นหาศักยภาพกองทุนด้วยตนเอง
4.4 เมื่อผลการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนเสร็จเรียบร้อย เห็นควรนำเสนอดณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเข้าสู่โครงการเพิ่มทุนและขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่อไป
ปัจจุบันยังไม่ทราบผลการพิจารณาเพื่อการดำเนินตังกล่าวทำให้เกิดการเสียโอกาสของกองทุนชุมชนกองทัพบกในการเข้าสู่โครงการเพิ่มทุนและการขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในกองทุนชุมชน กองทัพบกเช่นเดียวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วไป นายสุวิทย์ คุณกิตติ จึงมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เร่งรัตติตตามเพื่อให้เกิดผลการดำเนินตังกล่าวต่อไป
5. โครงการพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลาม
ในขณะเมื่อนายสุวิทย์ คุณกิตติเป็นประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้มีนโยบายในการจัดดั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลั่กศาสนาอิสลามด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและจัดทำโครงการหลักสูตรการเรียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลามโดยจัดทำเป็นอักษรไทยและอักษรมาลาย เพื่อสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสถาบันศึกษาปอเนาะในเขด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างการเรียนรู้และการปฏิบัติตามปรัชญากองทุน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ดังกล่าว
ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้า ทำให้เกิดการเสียโอกาสในการเรียนของนักเรียนและแนวร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความมั่นคง
นายสุวิทย์ คุณกิตติจึงได้เร่งรัดให้ดำเนินการโครงการดังกล่าวให้เกิดความต่อเนื่องต่อไปแล้วและคาคว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ภายในปีการศึกษา 2549
6. โครงการศึกษาระดับปริญญาโท แก่ผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารจัดกา กองทุนหมู่บ้าน
ในขณะที่นายสุวิทย์ คุณกิตติเป็นประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้มีนโยบายให้เกิดการศึกษาต่อ เนื่องของผู้สำเร็จหลักสูดรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้น ให้มีการศึกษาระตับปริญญาโท โตยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อผลิตมหาบัณหิตในการเข้าไปช่วยเหลือในการยกระดับองทุนให้เกิดความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน
ปัจจุบันได้เสนอดณะรัฐมนตรี แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง และยังไม่ทราบความคืบหน้า อาจจะด้วยเหตุผลด้านงบประมาณเพื่อดำเนินการ
นายสุวิทย์ คุณกิตติ จึงมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติติดตามโครงการตังกล่าว และพิจารณาให้ลดจำนวนเป้าหมายของโครงการลงเพื่อลดงบประมาณดำเนินการ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
7. แผนงานโครงการที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. กองทุนหมู่บ้านฯ พ.ศ. 24547และนโยบายของรัฐบาล
นายสุวิทย์ คุณกิตติได้เร่งรัดให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติดำเนินการเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน และแ แผนการปฏิบัติงานของกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
7.1 การจัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสาชาภาคและจังหวัด
7.2 การพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้นและชุมชนเมือง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากองทุน
7.3 การดำเนินงานการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
7.4 การดำเนินงานการพัฒนากองทุนที่มีความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551
7.5 การดำเนินงานการจัดทำระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
โครงการขยายวงเงินกู้จากสถาบันการเงินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แบบ กทบ.9
ผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544 จนถึง ปี พ.ศ.2557
สถานะทางกฏหมายของสถาบันการเงินชุมชน
สถาบันการเงินชุมชน เป็นกิจกรรมหนึ่งของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครองแทนรัฐจึงเป็น “หน่วยงานทางปกครอง” และเป็นบริการสาธารณะ ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๖๕๖/๒๕๕๙ และคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ที่มีตำแหน่ง จึงเป็น“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒
ปัจจุบัน มี กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชน ทั่วประเทศจำนวนเท่าไหร่ (ไม่มีข้อมูล)มีการพยายามพลักดันให้มีออกระเบียบมารองรับการเป็นสถาบันการเงินชุมชน ตลอดมา 17 ปี จนบัดนี้ ยังไม่มีระเบียบรองรับสถาบันการเงินชุมชน แต่อย่างใด มีแต่ร่างระเบียบ หลาย ฉบับด้วยกัน แต่ก็เป็นร่างระเบียบเท่านั้น ไม่มีผลการใช้บังคับแต่อย่างใด
ความคืบหน้าล่าสุด
มีหนังสือแจ้งเกี่ยวกับร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารสถาบันการเงินชุมชน พ,ศ,…. ของคณะอนุกรรมการยกร่างระเบียบสถาบันการเงินชุมชนได้เผยแพร่ร่างระเบียบดังกล่าว ไปยังกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ
มีคำถามจากกลุ่มเครือข่ายคนรักกองทุนหมู่บ้าน ว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีอำนาจออกระเบียบ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารสถาบันการเงินชุมชน พ.ศ. ………….หรือไม่ ??? อย่างไร ?????
ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน
คำถาม ถาม ว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีอำนาจออกระเบียบสถาบันการเงินชุมชน หรือไม่???
คำตอบ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีอำนาจ ออกประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ นี้ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา 19(16)
คำถาม พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มีส่วนไหน มาตราไหน ที่ให้อำนาจ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ออกระเบียบ สถาบันการเงินชุมชน หรือไม่ ?????
คำตอบ ไม่มี
แต่จะมี บัญญัติ ไว้ท้าย พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ในส่วนของหมายเหตุ ความว่า
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยการให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านหรือชุมชนตามภูมิปัญญาหรือทุนทางสังคมของตนเองในด้านการเรียนรู้ การสร้างและการพัฒนาความคิดริเริ่มเพื่อการแก้ไขปัญหา การสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจของหมู่บ้านและชุมชนเมืองอันเป็นเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ ตลอดจนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะการจัดระบบสวัสดิการในชุมชนมีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็น จึงได้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนแก่กองทุนหมู่บ้านเป็นกลไกให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง และเพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมือง สามารถพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในอนาคต โดยมีกระบวนทัศน์ด้านการบริหารและการพัฒนาที่มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่มีรูปแบบ วิธีการคิด และมุมมองที่เปิดกว้างมีคุณธรรม และมีการเรียนรู้ร่วมกันโดยอาศัยหลักของการเอื้ออาทรในรูปแบบกัลยาณมิตร ตลอดจนมีการสร้างและพัฒนาความคิดความเข้าใจให้เป็นระบบในลักษณะของการบูรณาการทุกเรื่องเข้าด้วยกันและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายกองทุนในทุกระดับอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
คำถามต่อไป ว่า หมายเหตุท้าย พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547หรือไม่ ???
คำตอบ หมายเหตุ ในพระราชบัญญัตินั้นเรารู้กันอยู่แล้วว่าเป็นส่วนหนึ่งซึ่งไปปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้นจึงต้องถือว่าหมายเหตุเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติซึ่งเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายในพระราชบัญญัติการตีความก็จะต้องมาดูหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัตินั้นๆ
ดังนั้น คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงมีอำนาจ ออกระเบียบดังกล่าวได้