Posted on

เมื่อกองทุนหมู่บ้านถูกแจ้งประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ?????

มารู้จักกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันก่อนครับ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษี
ประเภทใหม่ที่รัฐบาลจะนำมาใช้เพื่อ
จัดเก็บภาษีเพิ่มเติมหรือไม่

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่จะนำมาใช้
ทดแทนการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่
ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน โดยรายได้
จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจะเป็นของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น
ทั้งหมด โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐบาล

ทำไมจึงต้องนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่

1) เนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.
2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
เป็นกฎหมายที่ใช้มานาน และไม่ได้มีการปรับปรุงให้
สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
จากอดีต จึงทำให้การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษี
บำรุงท้องที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับฐานภาษี อัตราภาษี และ
การลดหย่อนภาษีที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
1.1) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
(1) ภาษีโรงเรือนและที่ดินใช้ฐานค่ารายปีหรือ
ค่าเช่าต่อปีในการประเมินภาษี จึงซ้ำซ้อนกับการเก็บภาษี
เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
(2) การประเมินค่ารายปีขึ้นกับดุลยพินิจของ
พนักงานเจ้าหน้าที่ ในการกำหนดค่าเช่าที่สมควรให้เช่าได้
ในปีหนึ่ง
(3) อัตราภาษีที่จัดเก็บกำหนดไว้สูงมาก คือ
ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปีหรือเทียบกับค่าเช่าเดือนครึ่ง
1.2) ภาษีบำรุงท้องที่
(1) ฐานภาษีไม่เป็นปัจจุบัน เนื่องจากใช้ราคา
ปานกลางของที่ดินซึ่งปกติต้องปรับปรุงทุกรอบ 4 ปี แต่
ปัจจุบันยังคงใช้ราคาปานกลางที่ดินเดิมที่ใช้ในการประเมิน
ภาษีปี 2521 – 2524 และยังมีการลดหย่อนเนื้อที่ดินที่
นำมาคำนวณภาษีเป็นจำนวนมาก
(2) อัตราภาษีมีการกำหนดตามชั้นของราคาปาน
กลางที่ดินมากถึง 34 ชั้น และมีลักษณะถดถอย โดยที่ดินที่
มีมูลค่าสูงเสียภาษีในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำกว่าที่ดินที่มีมูลค่าต่ำ
2) รายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาเองมีสัดส่วนที่ต่ำ
ไม่เพียงพอในการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น
ในอนาคต เนื่องจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอนาคต
จะเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการพัฒนา ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

มีข้อยกเว้นภาษีสำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างหรือไม่

1) ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีประกอบด้วยทรัพย์สิน
ต่างๆ รวม 12 ลักษณะ ได้แก่ ทรัพย์สินของรัฐหรือของ
หน่วยงานของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ
หรือในกิจการสาธารณะโดยมิได้ใช้หาผลประโยชน์, ทรัพย์สินที่
เป็นที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่นที่
ประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาหรือ
ความตกลง, ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการสถานทูตหรือสถานกงสุล
ของต่างประเทศตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน, ทรัพย์สิน
ของสภากาชาดไทย, ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติไม่ว่าของ
ศาสนาใด เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์, ทรัพย์สินที่ใช้เป็น
สุสานสาธารณะหรือฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน, ทรัพย์สินที่เป็นของมูลนิธิหรือองค์การที่ประกอบกิจการสาธารณะ เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์,ทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์, ทรัพย์ส่วนกลางที่มีไว้เพื่อประโยชน์
ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด,
ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรร
ที่ดินและกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
และทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2) รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานของรัฐ หากทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจซึ่งใช้กิจการของหน่วยงานนั้นมิได้ใช้หาผลประโยชน์ทรัพย์สินดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

3) ทรัพย์สินที่ประชาชนบริจาคให้มหาวิทยาลัยของรัฐเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ แม้ว่าภายหลังจากที่ได้รับบริจาคมาแล้วจะยังไม่ได้นำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์เดิมของผู้บริจาค ก็ยังถือเป็นทรัพย์สินของรัฐที่มีไว้เพื่อใช้กิจการสาธารณะของมหาวิทยาลัยของรัฐ ทรัพย์สินดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

4) กรณีมีผู้เข้าไปบุกรุกหรือทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐที่สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน ผู้นั้นต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
แต่การเสียภาษีดังกล่าวไม่สามารถใช้เป็นเหตุในการอ้างเพื่อก่อให้เกิดสิทธิตามกฎหมายอื่นได้

5) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐที่ได้รับยกเว้นภาษีต้องใช้ประโยชน์ในทางราชการ ใช้เพื่อสวัสดิการของรัฐ หรือในกิจการสาธารณะ และไม่ได้ใช้หาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

6) ทรัพย์สินที่ประชาชนบริจาคให้วัดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ แม้ว่าภายหลังจากที่ได้รับบริจาคมาแล้วจะยัง
ไม่ได้นำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์เดิมของผู้บริจาค
ก็ยังถือเป็นศาสนสมบัติของวัดที่มีไว้เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ เมื่อไม่ได้นำไปใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

7) สุสานเอกชนหรือฮวงซุ้ยของเอกชนไม่ใช่สุสานสาธารณะ
หรือฌาปนสถานสาธารณะจึงไม่ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษี
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

8) ฌาปนสถานเป็นทรัพย์สินของวัดในศาสนาพุทธที่ใช้
ประกอบศาสนกิจที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของผู้นับถือศาสนา
และมีการให้บริการในลักษณะบริการสาธารณะโดยทั่วไป
การเรียกเก็บค่าบริการหรือเงินบำรุงฌาปนสถานไม่ถือเป็น
การรับประโยชน์ตอบแทน จึงได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษี
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

9) ทรัพย์สินที่ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อประโยชน์
สาธารณะไม่ได้จำกัดเฉพาะส่วนราชการที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ยังรวมถึงส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดด้วย

10)รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่ใช่ส่วนราชการตามกฎหมาย การยินยอมให้รัฐวิสาหกิจใช้เพื่อสาธารณประโยชน์จึงไม่ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

11) อาคารที่ทำการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นทรัพย์ส่วนกลางที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

12) ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน
จัดสรรหรือทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด เป็นทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวมสำหรับผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรรหรืออาคารชุด จึงได้รับยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

13) สาธารณูปโภค เป็นบริการสาธารณะที่จัดทำเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในสิ่งอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ได้แก่ ถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น

14) แม้กฎหมายว่าด้วยหอพัก จะกำหนดให้หอพักเอกชนที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณมีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีท้องถิ่น แต่การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรณีนี้จะต้องมีการตราเป็นกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายนี้ด้วย