Posted on

โครงการ พัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน(SML)

เปิดทางสู้! กองทุนหมู่บ้าน 2568 โอกาสใหม่เพื่อชุมชนมั่นคง

🚀 เปิดทางสู้! กองทุนหมู่บ้าน 2568 โอกาสใหม่เพื่อชุมชนมั่นคง

ชุมชนร่วมใจพัฒนา

ชุมชนร่วมใจพัฒนา: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (สำหรับชุมชนชนบท)

"ชุมชนร่วมใจพัฒนา" ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู แต่คือแนวทางที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์ชุมชนของเราให้ดีขึ้นได้ด้วยมือของเราเอง ลองนึกภาพดูว่า ถ้าเราทุกคนในหมู่บ้าน ร่วมมือกันคิด ร่วมกันทำ จะเกิดอะไรขึ้น?

🔍 5 จุดเด่นกองทุน SML ปี 68 ที่ชาวกองทุนหมู่บ้านต้องรู้!

  • ✅ ใช้งบตามจำนวนประชากร 3 ขนาด (เล็ก-กลาง-ใหญ่)
  • ✅ สร้างงาน-เพิ่มทักษะอาชีพทุกด้าน ทั้งผลิต-แปรรูป-ตลาด
  • ✅ จัดซื้อจัดจ้างแบบยืดหยุ่น ไม่ต้องตามระเบียบราชการ
  • ✅ ใช้งบร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียงได้
  • ✅ ตรวจสอบโปรงใส 4 ชุด คณะทำงานคุมเข้ม

⏰ ระยะเวลาสำคัญ

    กทบ การเตรียมความพร้อมล่วงหน้า มีชัยไปกว่าครึ่ง โครงการสนับสนุน เสริมสร้าง ศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมั่นคง

  • ✅ เตรียมพร้อมก่อนยื่นขอรับโครงการ เตรียม สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล + รับรองสำเนาถูกต้อง เตรียม สำเนางบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปี 2566 และปี 2567 เตรียม สำเนาบันทึกการประชุมฯ หรือเอกสารที่มีมติรับรองการคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน (ชุดปัจจุบัน) หาก หมควาระ ให้รีบดำเนินการจัดเลือกใหม่ เตรียม สร้างการรับรู้ ให้สมาชิก และครัวเรือน ได้รับทราบล่างหน้าทั่วถึง
  • ✅ เตรียมพร้อมเมื่อมีประกาศฯ รอแบบฟอร์มฯ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือนำส่ง/คำขอโครงการ/ รายงานประชุมประชาคม/ใบลงทะเบียน/รายชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน/และอื่นๆ รวบรวมเอกสาร ตามขอ 1. และ ข้อ 2. ส่งตามช่องทางที่กำหนด
  • ✅ เตรียมดำเนินการหลังได้รับงบประมาณ เตรียมเก็บเงินจากผู้รับจ้าง (ร้อยละ 1) หักภาษี ณ ที่จาย ส่งสรรพากรพื้นที่ รายงานหลังการเบิกจ่ายเงิน (ภายใน 30 วัน) รายงานเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น (กายใน 30 วัน) รายงานเมื่อดำเนินโครงการ (ครบ 6 เดือน)

📊 วงเงินจัดสรรตามขนาดชุมชน

ขนาดวงเงินตามจำนวนประชากร

เล็ก (≤500 คน: 3 แสนบาท | กลาง (501-1,000 คน): 4 แสนบาท | ใหญ่ (≥1,001 คน): 5 แสนบาท

📝 4 ขั้นตอนขอเงินทุนแบบง่ายๆ

  1. จัดประชุมหมู่บ้าน (ต้องมีผู้แทนครึ่งครัวเรือน + สมาชิกครึ่งกองทุน)
  2. เสนอโครงการผ่านระบบออนไลน์/เอกสาร
  3. รอตรวจสอบคุณสมบัติ (3 วันทำการ)
  4. รับโอนเงินผ่านธนาคารเป้าหมาย

💡 ต้นแบบโครงการเด็ด!

🏭 โครงการ ต่อยอดศูนย์ออกกําลังกายชุมชน งบประมาณ 47,380 บาท พื้นที่ดําเนินการ ชุมชนตาชี เทศบาลตําบลห้วยยอด อําเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประธานกลุ่ม/โครงการ นายเทิดศักดิ์ หิรัญวัฒนะ

Posted on

ลงพื้นที่ดันกองทุนชนเผ่า

แชร์

"อมก๋อยเร่งฟื้น 44 กองทุนหมู่บ้านฯ หลุดเพิ่มทุน 'ล้านที่ 2' หลังหยุดบริหาร-หนี้สะสม-ปัญหาภาษาพุ่ง!

เตรียมแผนลงพื้นที่ดันกองทุนชนเผ่าพร้อมลุยถนนสุดโหด

จังหวัดเชียงใหม่ – สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สาขาเขต 1 ร่วมกับเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดและอำเภออมก๋อย ประกาศแผนลงพื้นที่แก้ไขปัญหากองทุนหมู่บ้าน 44 แห่งในอำเภออมก๋อยที่ยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุนระยะที่ 2 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะกลุ่มกองทุนที่บริหารงานหยุดชะงัก สมาชิกไม่ชำระหนี้ และเผชิญปัญหาความท้าทายเชิงพื้นที่แบบเฉพาะตัว

สถานการณ์กองทุนหมู่บ้านอมก๋อย: ปัญหาเรื้อรังที่ต้องเร่งแก้

อำเภออมก๋อยมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งหมด 95 กองทุน แต่มี 44 กองทุนที่ยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุนระยะที่ 2 (1 ล้านบาท) ตามนโยบายเดิมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยส่วนใหญ่เป็นกองทุนของชนเผ่าพื้นเมืองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร หลายกองทุนหยุดการบริหารจัดการมานานหลายปี ส่งผลให้:

  1. สมาชิกไม่ชำระหนี้: เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนหยุดทำงาน บางส่วนไม่ยอมปล่อยกู้แม้บัญชียังมีเงินหลักล้านบาท

  2. งบดุลไม่ปิด: การไม่สรุปบัญชีประจำปีทำให้ขาดความโปร่งใส

  3. อุปสรรคด้านภาษา: ต้องใช้ล่ามหรือผู้นำชุมชนช่วยสื่อสาร เช่น กรณีคลิปวิดีโอผู้ใหญ่บ้านจับไมค์อธิบายให้สมาชิกชนเผ่าเข้าใจ

แผนลงพื้นที่ฟื้นฟู: เตรียมความพร้อม-สลายทางตัน

ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเครือข่ายกองทุนฯ ระดับตำบลและอำเภอ เตรียมลงพื้นที่เพื่อ:

  • กระตุ้นการบริหารงาน: สนับสนุนให้คณะกรรมการกองทุนเร่งประชุมสมาชิก เตรียมเอกสารขอรับเงินเพิ่มทุน

  • แก้ปัญหาหนี้ค้าง: ประสานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ระดมกลไกปรับโครงสร้างหนี้

  • สร้างระบบติดตาม: นำเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบการชำระเงินและปิดงบดุล

ความท้าทายเชิงพื้นที่: จากถนนสุดโหดถึงกำแพงภาษา

  • การเดินทางยากลำบาก: แม้ในฤดูแล้ง ถนนในอมก๋อยยังขรุขระ ส่งผลให้การเดินทางไปติดต่อธนาคารหรือหน่วยงานรัฐใช้เวลานาน

  • ปัญหาภาษาและวัฒนธรรม: ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าที่ใช้ภาษาท้องถิ่น จำเป็นต้องอาศัยล่ามหรือผู้นำชุมชนเป็นสื่อกลาง

    • ขาดแคลนบุคลากร: ข้าราชการในพื้นที่ไม่คล่องภาษาชนเผ่า ขาดการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่นในกระบวนการพัฒนา

น้อง ผู้หญิง เป็น ลูกจ้าง เครือข่ายฯ ระดับอำเภออมก๋อย เป็น เชื้อสาย ชนเผ่า พูด&ฟัง ภาษา ออก น่าเห็นใจมากๆๆ ทำงาน ทุ่มเท มากกว่า รับผิดชอบ มากกว่า!!พนง. ลูกจ้าง สทบ หลายกี่โลขีด แต่ ทราบว่า ไม่ได้รับ เงินเดือน/ค่าตอบแทน จากการทำงาน มา 3 เดือนแล้ว!!!โอ! !!!พระเจ้า!!!!

เสียงสะท้อนจากพื้นที่: “ผู้บริหารต้องลงมาเห็นของจริง!”

ผู้ใหญ่บ้านในอมก๋อยรายหนึ่งเผยว่า “ผู้บริหารระดับสูงนั่งทำงานบนหอคอยงาช้าง ควรมาสัมผัสปัญหาเองบ้าง จะได้เห็นว่าการบริหารกองทุนในพื้นที่แบบนี้ไม่ใช่แค่ตัวเลขในรายงาน!” พร้อมยกตัวอย่างกรณีที่คณะทำงานต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเดินทางเพียงเพื่อชี้แจงนโยบายให้ชนเผ่าเข้าใจ

บทส่งท้าย:

ปัญหากองทุนหมู่บ้านในอมก๋อยสะท้อนความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรของชนเผ่าพื้นเมือง การแก้ไขต้องเริ่มจากการรับฟังเสียงชุมชนและออกแบบนโยบายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ควบคู่กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่นในกระบวนการตัดสินใจ — เพราะการพัฒนาที่แท้จริงต้อง “เห็นคนเป็นศูนย์กลาง”

By T.law

Posted on

หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวกองทุนหมู่บ้าน

หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย

รายละเอียดเพิ่มเติม หลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Professional Thai Chef)

หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย

หลักสูตร THACCA Academy หลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Professional Thai Chef) คลิ๊กที่ลิงค์ด้านล่างนี้เพื่ออ่านรายละเอียดได้เลย http://clinictech.ops.go.th/…/Master%20Thai%20Chef…
👉ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://drive.google.com/…/1Hy6XIuD2g12qlyVTq…
Posted on

อบรมการใช้ระบบบริหารกองทุนหมู่บ้าน(VMF)

Posted on

มาตรฐาน “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่”

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

นโยบายนี้ยังคงต่อเนื่องอยู่หรือไม่ ? เมื่อมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว

รัฐบาลโดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนก่อนที่รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับดูแลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งาติ ได้มีนโยบาย ด่วน  เร่งตรวจสอบ “สถานะกองทุนหมู่บ้าน” เพื่อจัดระดับมาตรฐาน และแนวทางพัฒนา ยกระดับเป็น “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่” . คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เผยผลการประชุม ครั้งที่ 1/66 พบว่า มีหลายกองทุนที่ไม่มีการดำเนินงานแล้ว บางกองทุนประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น . หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะเร่งดำเนินการสำรวจ และจัดระดับมาตรฐานการดำเนินงานของกองทุน คัดเกรดกองทุนทั่วประเทศ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือต่อไป . ส่วนกองทุนที่ “ไม่มีการดำเนินงานแล้ว” อาจต้องพิจารณาหาตัวบทกฎหมายมาทบทวนว่าจะยุติการดำเนินงาน หรือปรับปรุงพัฒนาต่อ ตามแนวทางการบริหารงานของรัฐบาลที่มุ่ง “เพิ่มรายได้ให้ชุมชน” จนสามารถพลิกโฉมสู่การเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่ ที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างแท้จริง . อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/76109 #ไทยคู่ฟ้า #สื่อสารรัฐบาลไทย ——————-

“พวงเพ็ชร ”เอาจริง ลั่นเช็คบิลสถานะกองทุนหมู่บ้าน ดันคนรุ่นใหม่คุมกองทุนทั่วประเทศ

“พวงเพ็ชร ”เอาจริง ลั่นเช็คบิลสถานะกองทุนหมู่บ้าน ดันคนรุ่นใหม่คุมกองทุนทั่วประเทศ

 

วันนี้ (14 ธันวาคม 2566) เวลา 10.00 น. นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายวราวุธ ยันต์เจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสุภาภรณ์   คงวุฒิปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการเข้าร่วม

วันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่คณะอนุกรรมการชุดใหม่ได้ประชุมร่วมกัน ซึ่งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 โดยมี นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้รายงานการดำเนินงานของกองทุนฯ รวมถึงโครงการสำคัญที่รัฐบาลขับเคลื่อน เช่น โครงการสร้างการรับรู้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทะเบียน และพัฒนาระบบการลงทะเบียนเข้าร่วมศูนย์บ่มเพาะ One Family One Soft Power (OFOS) ภายใต้ยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติ และ โครงการ “โคเงินล้าน” นำร่อง ระยะที่ 1 รวมถึงได้รายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนชุมชนเมือง ในพื้นที่ และการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ

นางพวงเพ็ชร กล่าวว่า จากรายงานการดำเนินงาน พบว่ามีหลายกองทุนที่ไม่มีการดำเนินงานแล้ว  บางกองทุนประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ บางกองทุนมีการบริหารจัดการที่ดี จึงได้สั่งการให้ สทบ. เร่งดำเนินการสำรวจ เพื่อจัดระดับมาตรฐานการดำเนินงานของกองทุน คัดเกรดกองทุนทั่วประเทศ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ ส่วนกองทุนที่ No Active หรือ ไม่มีการดำเนินงานแล้ว อาจต้องพิจารณาหาตัวบทกฎหมายมาทบทวนว่าจะยุติการดำเนินงาน หรือปรับปรุงพัฒนาได้อย่างไร ทั้งนี้ ขอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานและติดตามสำรวจอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันขอให้ทาง สทบ. ดำเนินโครงการต่างๆ ตามแนวทางการบริหารงานของรัฐบาล  “เพิ่มรายได้ให้ชุมชน” เพื่อพลิกโฉมสู่การเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่ ที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างแท้จริง

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/76109

BUD แบนด์ใหม่ กับกองทุนหมู่บ้าน

เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่เรารู้จัก กองทุนหมู่บ้าน เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนและอาชีพให้กับคนในหมู่บ้านชุมชน แต่ในไม่ช้านี้ กองทุนหมู่บ้าน กำลังจะได้รับการรีแบนนด์ใหม่ เปลี่ยนชื่อให้ทันสมัยเป็น BUD (บียูดี) ตั้งเป้าเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

Posted on

ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่.

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวกองทุนหมู่บ้าน

จากการเปิดเผยของ นายวิทูรย์ มูลภิชัย  ประธานสถาบันการเงินชุมชนแม่ขักพัฒนา แจ้งว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

ปัญหากองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ หมู่ที่ 2 ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ หลังจากคณะกรรมการชุดเก่า ได้ไปกู้เงินธนาคารออมสิน แต่ไม่มีเงินจ่ายหนี้ และพบความผิดปกติ ค้างชำระภายในกองทุนกว่า 4 ล้านบาท ล่าสุดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามและแก้ปัญหาดังกล่าว

รายการสถานีประชาชน ยกทัพทีมงานลงพื้นที่สัญจรที่วัดน้ำแพร่ ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ล้อมวงคุยสะท้อนความเดือดร้อน พร้อมผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกร่วมกัน ดังนี้

1. นายสุขสันต์ ใบแสง ประธานกรรมการ กองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ หมู่ที่ 2 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด

2. นายวิทูร มูลภิชัย ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านสถาบันการเงินชุมชนแม่ขัก

3. นายนิพนธุ์ ทิพย์ศร หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพด้านกฎหมาย ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)

4. นายจักรินทร์ สิรินทรภูมิ นายอำเภอดอยสะเก็ด

5. นายณรงค์ ศรีระสันต์ อัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด และรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด

ติดตามรายละเอียดได้ในรายการสถานีประชาชน วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 14.05 – 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส

#ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 #สถานีประชาชน #ทุกข์ปัญหามีทางออก

———————————-

Posted on

“หอมดนตรี”จัดกิจกรรมประกวดร้องเพลงชิงเงินรางวัล 30,000 บาท

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวตลาดประชารัฐ

จากการเปิดเผยของ ดร ภาสกร ฐิติธนาวนิช ประธานตลาดประชารัฐ อำเภอปากเกร็ด ของดีวิถีนนท์”แจ้งว่าตลาดประชารัฐจัดกิจกรรม ห้องดนตรี ของตลาดฯ ห้อง“หอมดนตรี”จัดกิจกรรมดีๆคืนความสุข เปิดโอกาสให้FCได้โลดแล่นบนเวทีแสดงความสามารถในการร้องเพลงทีตนเองหลงไหล สร้างความสุขแก่ผู้ฟัง ชิงรางวัลรวมกว่า30,000บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม…..ฝากแชร์ด้วยครับ
#ปากเกร็ด#นนทบุรี#
#ลูกค้าจอดรถฟรี 1 ชั่วโมง
Posted on

“เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่”รอต้อนรับนายกฯเศรษฐา  เยี่ยมชมโครงการคลองสวยน้ำใส คนไทยมีสุข ณ สวนสาธารณะสิริสุขนันทน์ สันทราย จ.เชียงใหม่

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน

Posted on

เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านสะเดียง

เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลสะเดียง

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ กองทุนหมู่บ้านไร่ ประธานพิสิทธิ์ ชัยวิริยะ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลสะเดียง แจ้งว่า 10มค.66 ได้รับเชิญร่วมประชุมใหญ่กองทุนหมู่บ้านไร่เหนือ ม.4 ต.สะเดียง ในฐานะประธานเครือข่ายฯตำบล เป็นกิจกรรมประจำปี รายงานผลการดำเนินงาน งบการเงิน ในปีที่ผ่านมา  เลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ แทนกรรมการที่หมดวาระ และอนุมัติให้สมาชิกกู้ยืมเงินในปี 2566

รายงานข่าวโดย Tnglaw