Posted on

โครงการ พัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน(SML)

เปิดทางสู้! กองทุนหมู่บ้าน 2568 โอกาสใหม่เพื่อชุมชนมั่นคง

🚀 เปิดทางสู้! กองทุนหมู่บ้าน 2568 โอกาสใหม่เพื่อชุมชนมั่นคง

ชุมชนร่วมใจพัฒนา

ชุมชนร่วมใจพัฒนา: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (สำหรับชุมชนชนบท)

"ชุมชนร่วมใจพัฒนา" ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู แต่คือแนวทางที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์ชุมชนของเราให้ดีขึ้นได้ด้วยมือของเราเอง ลองนึกภาพดูว่า ถ้าเราทุกคนในหมู่บ้าน ร่วมมือกันคิด ร่วมกันทำ จะเกิดอะไรขึ้น?

🔍 5 จุดเด่นกองทุน SML ปี 68 ที่ชาวกองทุนหมู่บ้านต้องรู้!

  • ✅ ใช้งบตามจำนวนประชากร 3 ขนาด (เล็ก-กลาง-ใหญ่)
  • ✅ สร้างงาน-เพิ่มทักษะอาชีพทุกด้าน ทั้งผลิต-แปรรูป-ตลาด
  • ✅ จัดซื้อจัดจ้างแบบยืดหยุ่น ไม่ต้องตามระเบียบราชการ
  • ✅ ใช้งบร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียงได้
  • ✅ ตรวจสอบโปรงใส 4 ชุด คณะทำงานคุมเข้ม

⏰ ระยะเวลาสำคัญ

    กทบ การเตรียมความพร้อมล่วงหน้า มีชัยไปกว่าครึ่ง โครงการสนับสนุน เสริมสร้าง ศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมั่นคง

  • ✅ เตรียมพร้อมก่อนยื่นขอรับโครงการ เตรียม สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล + รับรองสำเนาถูกต้อง เตรียม สำเนางบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปี 2566 และปี 2567 เตรียม สำเนาบันทึกการประชุมฯ หรือเอกสารที่มีมติรับรองการคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน (ชุดปัจจุบัน) หาก หมควาระ ให้รีบดำเนินการจัดเลือกใหม่ เตรียม สร้างการรับรู้ ให้สมาชิก และครัวเรือน ได้รับทราบล่างหน้าทั่วถึง
  • ✅ เตรียมพร้อมเมื่อมีประกาศฯ รอแบบฟอร์มฯ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือนำส่ง/คำขอโครงการ/ รายงานประชุมประชาคม/ใบลงทะเบียน/รายชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน/และอื่นๆ รวบรวมเอกสาร ตามขอ 1. และ ข้อ 2. ส่งตามช่องทางที่กำหนด
  • ✅ เตรียมดำเนินการหลังได้รับงบประมาณ เตรียมเก็บเงินจากผู้รับจ้าง (ร้อยละ 1) หักภาษี ณ ที่จาย ส่งสรรพากรพื้นที่ รายงานหลังการเบิกจ่ายเงิน (ภายใน 30 วัน) รายงานเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น (กายใน 30 วัน) รายงานเมื่อดำเนินโครงการ (ครบ 6 เดือน)

📊 วงเงินจัดสรรตามขนาดชุมชน

ขนาดวงเงินตามจำนวนประชากร

เล็ก (≤500 คน: 3 แสนบาท | กลาง (501-1,000 คน): 4 แสนบาท | ใหญ่ (≥1,001 คน): 5 แสนบาท

📝 4 ขั้นตอนขอเงินทุนแบบง่ายๆ

  1. จัดประชุมหมู่บ้าน (ต้องมีผู้แทนครึ่งครัวเรือน + สมาชิกครึ่งกองทุน)
  2. เสนอโครงการผ่านระบบออนไลน์/เอกสาร
  3. รอตรวจสอบคุณสมบัติ (3 วันทำการ)
  4. รับโอนเงินผ่านธนาคารเป้าหมาย

💡 ต้นแบบโครงการเด็ด!

🏭 โครงการ ต่อยอดศูนย์ออกกําลังกายชุมชน งบประมาณ 47,380 บาท พื้นที่ดําเนินการ ชุมชนตาชี เทศบาลตําบลห้วยยอด อําเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประธานกลุ่ม/โครงการ นายเทิดศักดิ์ หิรัญวัฒนะ

Posted on

จากนโยบายสาธารณะนำไปสู่การปฏิบัติ

บทความวิชาการ

การนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีกองทุนหมู่บ้าน โดย นายสนอง จันทนินทร
รายงานวิชาการส่วนบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 1 สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2545 ลิขสิทธิ์ของสถาบันพระปกเกล้า ( ด้วยความเคารพเป็นอย่าง จึงขออนุญาตเผยแพร่ให้เป็นวิทยาทานแก่คณะกรรมการและสมาชิก มา ณ ที่นี้ด้วย )

Posted on

รายงานวิชาการ “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ”

รายงานวิชาการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

 การศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อให้นักวิเคราะห์งบประมาณของรัฐสภาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐผ่านการศึกษาและวิเคราะห์กองทุนหมุนเวียนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ระบบงานและกรอบอัตรากำลังสำนักงบประมาณของรัฐสภา โดยมุ่งเน้นศึกษาการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ผลการดำเนินงานและผลกระทบของกองทุนหมุนเวียนต่อกลุ่มเป้าหมาย

          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก” ให้มีความหลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการจัดตั้ง “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ” เสมือนเป็นการกระจายอำนาจในการบริหารประเทศในรูปแบบหนึ่งของรัฐบาลที่ประชาชนมีสิทธิในการบริหารงานอย่างอิสระ จึงนับว่าเป็นกองทุนหมุนเวียนที่น่าติดตามและควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกเหนือจากข้อดีที่เงินงบประมาณส่งตรงถึงมือประชาชนโดยตรง มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในการพัฒนาอาชีพ และสร้างรายได้ในชุมชนแล้ว กองทุนหมู่บ้านได้จัดตั้งมาแล้วสิบกว่าปี มีงบประมาณที่จัดสรรลงสู่หมู่บ้านและชุมชนจำนวนมาก ผู้ศึกษาจึงได้ค้นคว้า รวบรวม สถิติ ข้อเท็จจริง และศึกษากองทุนหมู่บ้านเพื่อนำเสนอตามหลักวิชาการให้เห็นภาพรวมของงบประมาณที่จัดสรรและผลกระทบของกองทุนต่อกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งศึกษาผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคของกองทุนหมู่บ้าน

          ผู้ศึกษาหวังว่า การศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินี้ จะเป็นรายงานวิชาการที่นอกจากจะเป็นการศึกษาการใช้จ่ายเงินงบประมาณผ่านการวิเคราะห์กองทุนหมู่บ้านแล้ว ผู้ศึกษาหวังว่าผลการศึกษาจะเป็นบทวิเคราะห์และข้อมูลประกอบการพิจารณาให้กับฝ่ายนิติบัญญัติคือ สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงประชาชนที่สนจ ตลอดจนเป็นข้อมูลและแนวทางในเชิงนโยบายในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างแท้จริงของกองทุนต่อไป

ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ

มกราคม 2558