Posted on

ประเทศไทย เลือกตั้ง 2566

ประเทศไทย เลือกตั้ง 2566

ครม.ประกาศยุบสภา ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 วันถัดมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้ประกาศเคาะวันเลือกตั้ง เป็นวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 

สำหรับประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อาจต้องเริ่มเตรียมตัว โดยวันสำคัญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2566 ดังนี้

ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า และนอกราชอาณาจักร : 25 มี.ค. – 9 เม.ย. 66

การลงทะเบียนตั้งล่วงหน้า รวมถึงการลงทะเบียนตั้งนอกเขต ทำได้โดยการยื่นเรื่องที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ ช่องทางไปรษณีย์ หรือช่องทางออนไลน์

การลงทะเบียนเลือกตั้งจากต่างประเทศ สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ต่างประเทศ สามารถเลือกตั้งจากต่างประเทศ โดยการลงทะเบียนกับสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลประจำประเทศนั้น

ยื่นได้ตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. (ในวันและเวลาราชการ) ส่วนทางไปรษณีย์จะถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ

สำหรับช่องทางออนไลน์

ช่องทางออนไลน์สามารถลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยระบบจะปิดอัตโนมัติในวันที่ 9 เมษายน 2566 เวลาเที่ยงคืนตามเวลาประเทศไทย

รับสมัคร ส.ส.แบบเขต วันที่ 3-7 เม.ย. 66

รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 3-7 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งกำหนด

รับสมัคร ส.ส.แบบปาร์ตี้ลิส

วันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และพรรคการเมืองเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควร ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในนามพรรคการเมืองนั้นไว้ในบัญชี 3 รายชื่อ 4-7 เมษายน 2566 โดยวันที่ 4-6 เมษายน 2566 กำหนดเวลารับสมัคร ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. ส่วนวันที่ 7 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงดินแดงเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

วันสุดท้ายเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3 พ.ค. 66

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถตรวจสอบสิทธิ และหน่วยเลือกตั้งผ่านเอกสารที่กกต.จัดส่งไปยังเจ้าบ้าน (จะส่งมาถึงบ้านก่อนวันเลือกตั้ง 20 วัน) หรือช่องทางออนไลน์ของกกต. หากพบว่าตนเองหรือคนอื่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตน ไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยที่บุคคลนั้นมิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจริงๆ สามารถยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อให้เพิ่ม-ถอนชื่อนั้นได้

วันเลือกตั้งล่วงหน้า และวันเลือกตั้งสำหรับผู้พิการ-ผู้สูงอายุ 7 พ.ค. 66

สำหรับคนพิการ หรือผู้สูงอายุ สามารถลงทะเบียนไปใช้สิทธิที่หน่วยเลือกตั้งกลางสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. และสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยให้ช่วยอำนวยความสะดวกได้ เช่น ขอบัตรทาบให้ผู้พิการทางสายตา โดยทั่วไปผู้พิการจะต้องออกเสียงด้วยตนเอง แต่หากลักษณะทางกายภาพไม่สามารถทำเครื่องหมายออกเสียงเลือกตั้งได้ สามารถให้บุคคลอื่น หรือเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยทำเครื่องหมายแทนได้ ถือว่าเป็นการลงคะแนนโดยตรง และลับตามกฎหมาย สำหรับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต และนอกเขตเลือกตั้ง สามารถลงทะเบียนไปใช้สิทธิที่หน่วยเลือกตั้งกลางในเขต หรือนอกเขตเลือกตั้งตามที่ได้ลงทะเบียนไ้ว้ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น.

แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หน้า 7 หลัง 7 วันที่ 7-13 และ 15-21 พ.ค. 66

หากติดภารกิจไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ สามารถทำหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนที่ว่าการเขต หรืออำเภอ โดยสามารถไปด้วยตนเอง หรือ มอบหมายผู้อื่นไปแทน อีกทางเลือกคือ ส่งไปรษณีย์ หรือช่องทางออนไลน์ โดยต้องทำภายใน 7 วันก่อนการเลือกตั้ง หรือ 7 วันหลังการเลือกตั้ง จำง่ายๆ คือ “หน้า 7 หลัง 7”

ถ้าไม่แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งภายในระยะเวลาดังกล่าว แม้จะไม่เสียสิทธิในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่อาจเสียสิทธิบางประการเป็นระยะเวลาสองปี นับจากวันเลือกตั้งที่ไม่ได้ไป ได้แก่

๐ สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ๐ สิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง ๐ ลงสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ๐ ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ๐ ดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการบริหารท้องถิ่น

วันเลือกตั้ง : 14 พ.ค. 66 08.00-17.00 น

วันเลือกตั้งทั่วไป คือวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เข้าคูหาได้ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.

หมายเหตุ :

อย่าลืมพกบัตรประชาชน เป็นบัตรที่หมดอายุแล้วก็ยังสามารถใช้ได้ หรือเป็นบัตร,เอกสาร ที่ราชการออกให้ ขอแค่มีรูป และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็ถือว่าใช้ได้ เช่น ใบขับขี่ ,พาสปอร์ต หรือ บัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ (แอปพลิเคชัน ThaID)
Posted on

5 วิธีแก้หนี้นอกระบบในประเทศไทยอย่างได้ผลสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

5 วิธีแก้หนี้นอกระบบอย่างได้ผล "คู่มือฉบับสมบูรณ์“ สำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

หนี้นอกระบบเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่หันไปหาผู้ให้กู้นอกระบบ ซึ่งดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน      เนื่องจากการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบที่จำกัด 

ข้อแนะนำ:

หนี้นอกระบบเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่หันไปหาผู้ให้กู้นอกระบบเนื่องจากการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบที่จำกัด แม้ประเทศไทยจะมีหน่วยงานที่ให้กู้ที่เป็นสหกรณ์ กองทุนหมู่บ้าน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนแม่แห่งแผ่นดิน ซึ่งจะเป็นองค์กรที่สมาชิกสามารถเข้าถึงเงินกู้ได้สะดวก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากเป็นองค์กรขนาดเล็ก มีข้อจำกัดในวงเงินที่ให้กู้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่อาจเข้าถึงเงินกู้ดังกล่าวได้แม้ว่าการให้กู้ยืมนอกระบบจะช่วยให้เข้าถึงเงินสดได้รวดเร็วกว่า แต่ก็มักจะมาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไปและเงื่อนไขที่ไม่เป็นระเบียบ ซึ่งอาจนำไปสู่วงจรของหนี้ที่ยากจะทำลายได้ ในบทความนี้ เราจะสำรวจห้าวิธีที่ได้ผลในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในประเทศไทย และช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมความเป็นอยู่ทางการเงินของตนเองได้ ซึ่งก็รวมถึงสมาชิกกองทุนหมู่บ้านด้วย

เจรจากับผู้ให้กู้

ขั้นตอนแรกของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบคือการเจรจากับผู้ให้กู้ ผู้ให้กู้นอกระบบจำนวนมากยินดีที่จะเจรจาเงื่อนไขการชำระคืนและอัตราดอกเบี้ยหากผู้กู้มีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินของตน การติดต่อผู้ให้กู้และอธิบายความยากลำบากทางการเงินของคุณ คุณอาจสามารถเจรจาแผนการชำระหนี้ที่จัดการได้มากขึ้น วิธีนี้เหมาะสมกับเจ้าหนี้ที่ไม่โหด แต่วิธีมักใช้ไม่ได้ผลในประเทศไทย ซึ่งเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบส่วนใหญ่มักจะเอาเปรียบลูหกหนี้ และชอบใช้วิธีการที่โหดร้ายและใช้ความรุนแรง ทำร้ายร่างกายและทรัพย์สินของลูกหนี้

ขอความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาสินเชื่อ

วิธีแก้หนี้นอกระบบที่ได้ผลอีกวิธีหนึ่งคือการขอความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาสินเชื่อ บริการให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อสามารถให้คำแนะนำในการจัดทำงบประมาณ การจัดการหนี้ และการเจรจาต่อรองกับผู้ให้กู้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยคุณสร้างแผนการจัดการหนี้ที่จะช่วยให้คุณชำระหนี้และควบคุมการเงินของคุณได้ ซึ่งในประเทศไทยจะยังไม่มีบุคคลากรประเภทนี้ ซึ่งอาจจะหันไปปรึกษา คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ก็เป็นหน่วยงานที่ชาวบ้านมักเข้าไม่ถึง ที่เข้าถึงได้ง่ายหน่อย ก็จะเป็นศูนย์ดำรงธรรม แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เพราะขาดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา

พิจารณาการรวมหนี้

การรวมหนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของบุคคลที่มีหนี้นอกระบบหลายก้อน การรวมหนี้เกี่ยวข้องกับการรวมหนี้ทั้งหมดของคุณเป็นเงินกู้เดียวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าและเงื่อนไขการชำระคืนที่จัดการได้มากขึ้น วิธีนี้สามารถช่วยให้คุณชำระหนี้ได้เร็วขึ้นและลดจำนวนดอกเบี้ยทั้งหมดที่คุณจ่ายเมื่อเวลาผ่านไป

สำรวจบริการทางการเงินที่เป็นทางการ

วิธีหลีกเลี่ยงหนี้นอกระบบที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการสำรวจบริการทางการเงินนอกระบบ สถาบันการเงินที่เป็นทางการหลายแห่ง เช่น ธนาคารและสหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ ที่เสนอเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าและมีเงื่อนไขที่ควบคุมมากขึ้น คุณสามารถหลีกเลี่ยงอัตราดอกเบี้ยที่สูงและข้อกำหนดที่ไม่เป็นระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมนอกระบบได้โดยการกู้เงินนอกระบบ ซึ่งกองทุนหมู่บ้านจะต้องพัฒนาองค์กรให้เข้าถึงความต้องการขอสมาชิกได้อย่างทันท่วงที

เพิ่มรายได้ของคุณ

สุดท้าย วิธีแก้หนี้นอกระบบที่ได้ผลวิธีหนึ่งคือการเพิ่มรายได้ สิ่งนี้สามารถทำได้โดยการทำงานเพิ่มเติม เริ่มต้นธุรกิจเสริม หรือการศึกษาและการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ของคุณ การเพิ่มรายได้ทำให้คุณสามารถชำระหนี้ได้เร็วขึ้น โดยรัฐบาลควรสนับสนุนส่งเสริมให้กองทุนหมู่บ้านเป็นแหล่งพัฒนาศักยภาพของสมาชิก ให้มีความรู้ความสามารถในการเพิ่มรายได้ และหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการกู้ยืมเงินนอกระบบในอนาคต

สรุป:

โดยสรุปแล้ว หนี้นอกระบบเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย แต่มีวิธีแก้ไขที่ได้ผลหลายวิธี โดยการเจรจากับผู้ให้กู้, ขอความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาสินเชื่อ, พิจารณาการรวมหนี้, สำรวจบริการทางการเงินที่เป็นทางการ, และเพิ่มรายได้ของคุณ คุณสามารถควบคุมการเงินของคุณได้อีกครั้งและหลีกเลี่ยงวงจรหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมนอกระบบ หากคุณกำลังต่อสู้กับหนี้นอกระบบ เราขอแนะนำให้คุณดำเนินการเสียแต่วันนี้และสำรวจวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อฟื้นความเป็นอยู่ทางการเงินของคุณ และ หวังว่ากองทุนหมู่บ้านจะเป็นหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานที่สามารถแห้ปัญหาทุนให้แก่สมาชิกได้
Posted on

การประชุมใหญ่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านปากปู่ หมู่ 10

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ  ประธานพิสิทธิ์ ชัยวิริยะ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลสะเดียง ฯ   โดยแจ้งว่า วันที่23 มีนาคม 2566  คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านปากปู่ หมู่ 10 ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ในวันนี้ ได้ชี้แจง เกี่ยวกับโครงการ โคล้านครอบครัว 

ตามมติคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินงานโครงการโคล้านครอบครัว วงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถกู้ยืมเงินทุนสำหรับเลี้ยงโค ครอบครัวละ 2 ตัว

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า รัฐบาลพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มุ่งหวังให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ได้รับประโยชน์โดยตรง เตรียมลงพื้นที่เปิดโครงการฯ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มุ่งหวังให้โครงการโคล้านครอบครัวเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ อย่างเป็นรูปธรรม มีแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการกู้ยืมเพื่อการลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ บรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่เป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สถานการณ์อุทกภัยและเสริมสภาพคล่องให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ผ่านการสนับสนุนการทำปศุสัตว์คือ การเลี้ยงโค

การเลี้ยงโค ทำได้ไม่ยาก สามารถคืนทุนได้เร็ว โดยประชาชนสามารถปลดหนี้ และยังมีเงินเพิ่มขึ้นในครัวเรือน ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการนี้จะช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในระดับฐานราก โดยเฉพาะภาคการเกษตรมีความเข้มแข็ง หลุดพ้นจากความยากจน เป็นโอกาสที่ประชาชนจะมีรายได้เสริมและอาจพัฒนาเป็นอาชีพหลักในอนาคตได้

รายงานข่าวโดย Tnglaw 

Posted on

ขับเคลื่อนโครงการ “โคล้านครอบครัว”

ขับเคลื่อนโครงการ “โคล้านครอบครัว” มุ่งหวังกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

ขับเคลื่อนโครงการ “โคล้านครอบครัว”

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินงานโครงการโคล้านครอบครัว วงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถกู้ยืมเงินทุนสำหรับเลี้ยงโค ครอบครัวละ 2 ตัว

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า รัฐบาลพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มุ่งหวังให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ได้รับประโยชน์โดยตรง เตรียมลงพื้นที่เปิดโครงการฯ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มุ่งหวังให้โครงการโคล้านครอบครัวเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ อย่างเป็นรูปธรรม มีแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการกู้ยืมเพื่อการลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ บรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่เป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สถานการณ์อุทกภัยและเสริมสภาพคล่องให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ผ่านการสนับสนุนการทำปศุสัตว์คือ การเลี้ยงโค

การเลี้ยงโค ทำได้ไม่ยาก สามารถคืนทุนได้เร็ว โดยประชาชนสามารถปลดหนี้ และยังมีเงินเพิ่มขึ้นในครัวเรือน ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการนี้จะช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในระดับฐานราก โดยเฉพาะภาคการเกษตรมีความเข้มแข็ง หลุดพ้นจากความยากจน เป็นโอกาสที่ประชาชนจะมีรายได้เสริมและอาจพัฒนาเป็นอาชีพหลักในอนาคตได้

ขับเคลื่อนโครงการ “โคล้านครอบครัว” มุ่งหวังกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่สนใจเข้าร่วมโครงการโคล้านครอบครัว สามารถอ่านรายละเอียดโครงการและแสกน QR Code เพื่อกรอกข้อมูลตามรายละอียดที่ปรากฎ หรือคลิกที่ลิ้งค์ https://forms.gle/LJn2F52sDU4eEDBbA ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 24 มีนาคม 2566
สนใจ

แค่กรอกข้อมูล

 แจ้งความประสงค์ไม่กี่นาที ตามลิงค์ นี้  https://forms.gle/LJn2F52sDU4eEDBbA

Posted on

Village Fund Relations

งานสานสัมพันธ์เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2566

จากการเปิดเผยของเพจ Facebok ของ สจ.เบญจวรรณ์ จารุเพ็ญพูนผล แจ้งว่า วันนี้ได้เตรียมงานวันพรุ่งนี้( 29 มกราคม 2566) งานสานสัมพันธ์กองทุนหมู่บ้านจังหวัดสมุทรปราการ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลบางพลี #ขอขอบพระคุณท่านนายกพัฒนพงษ์ จงรักดี ที้ได้เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดงานครั้งนี้ 

รายงานข่าวโดย Tnglaw 

Posted on

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สถาบันการเงินชุมชนแม่ขักพัฒนา หางดง เชียงใหม่

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ กองทุนหมู่บ้านแม่ขักพัฒนา อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม๋  โดย ประธาน วิทูร มูลภิชัย แจ้งว่าเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566 กองทุนหมู่บ้านแมขัก&สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ขักพัฒนา จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีบัญชี 2565 เพื่อพิจารณาวาระสำคัญๆเช่น การรับรองงบการเงินประจำปี 65 รวม 3 ชุดบัญชี (บ/ช 1 เงินล้าน,บ/ช 2 สัจจะ , บ/ช 3 สถาบันการเงินชุมชน) มีผลการดำเนินงาน(กำไรสุทธิ รวม 1,207,577.11 บาท ( หนึ่งล้านสองแสนเจ็ดพันห้าร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาทสิบเอ็ดสตางค์) จัดสรรตามระเบียบฯ ให้กับสมาชิก ถ้วนหน้า ช่วงบ่าย มอบของอุปโภคบริโภค&อาหารกลางวัน สมาชิกทุกคน ขอบคุณสมาชิก!!!ที่รัก&คณะกรรมการ ทุกคน !!!ที่ให้ความร่วมมือ&มีวินัย ตลอดปี ที่ผ่านมา& ตลอดไป

รายงานข่าวโดย Tnglaw

Posted on

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี กทบ.ไร่

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ กองทุนหมู่บ้านไร่   โดย ประธานพิสิทธิ์ ชัยวิริยะ แจ้งว่า วันที่ 17 มกราคม 2565  คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านไร่ได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ในวันที่ 20 มกราคม 2565 

รายงานข่าวโดย Tnglaw 

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ กองทุนหมู่บ้านไร่   โดย ประธานพิสิทธิ์ ชัยวิริยะ แจ้งว่า วันที่  20 มกราคม 2565 กิจกรรมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ขอบคุณ ประธานเครือข่ายจ.เชียงใหม่คุณวิทูร มูลภิชัย ประธานเครือข่ายอ.สันกำแพงคุณสุเมท แก้วหลวง ผู้การออมสินโลตัส คุณปรารถนา มาคมูลผู้ตรวจสอบบัญชี และประธานกองทุนฯในต.สะเดียงทุกท่าน 20มค.66

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ กองทุนหมู่บ้านไร่   โดย ประธานพิสิทธิ์ ชัยวิริยะ แจ้งว่า วันที่ 20 มกราคม 2565  คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านไร่ ได้ดำเนินการตั้งเวที่ ติดตั้งป้าย เตรียมความพร้อมในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ในวันที่ 20 มกราคม 2565  ช่วงบ่ายแก่ ๆ 

รายงานข่าวโดย Tnglaw

Posted on

การศึกษาดูงานที่สถาบันการเงินชุมชนหาดเจ้าสำราญ

พนักงานของสถาบันฯ นำเสนอ การบริการสมาชิกถึงสถานที่

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ กองทุนหมู่บ้านหาดเจ้าสำราญ(สถาบันการเงินชุมชน) ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยประธานณัฏฐนันท์ สุรภาอรรถวิชญ์ แจ้งว่า สถาบันการเงินชุมชน หาดเจ้าสำราญ เปิดทำการทุกวัน และมีบริการที่หลากหลายตามความต้องการทางการเงินของสมาชิก และในวันที่ 17 มกราคม 2565 วันนี้ ได้มีเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดลำปาง  เดินทางมามาศึกษาดูงานกับสถาบันการเงินบ้านหาดเจ้าเรานำทีมโดยปรธาน.ประชัน.ท่านชมว่าเป็นบุญมากที่สุดทีใด้มาเห็นกับตาเคยใด้ยินแต่ชื่อท่านว่าก็ขอกราบขอบคุณมากๆๆในคำชมจร้า  

กอวทุนหมู่บ้านใด สนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถติดต่อไปยังท่านประธานณัฏฐนันท์ สุรภาอรรถวิชญ์ ได้เลยครับ

รายงานข่าวโดย Tnglaw

Posted on

สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบบ้านศรีเวียง

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบบ้านศรีเวียง  โดยประธานเ สมมิตร ทองชัย ว่า วัน 16 มกราคม 2565 ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ชี้แจงนโยบายในปีต่อไป รายงานผลการดำเนินงาน และสรุปงบการเงิน มอบทุนการศึกษาให้นักเรียน จับฉลากลุ้นของรางวัลมากมายสุขสันต์กันถ้วนหน้า ทั้งผู้ให้และผู้รับ # ขอบคุณสมาชิกกองทุนที่ให้ความร่วมมือ # ขอบคุณคณะกรรมการทุกท่าน

ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.2551 

หมวด ๗

การทำบัญชีและการตรวจสอบ

                  

 

ข้อ ๔๖  ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และจัดทำรายการรับ – จ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งและแจ้งให้สมาชิกทราบ รวมทั้งให้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานประจำปีรายงานต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการบริหารจัดการการเงิน การบัญชี และการพัสดุโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของสมาชิกเป็นหลัก

ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ เพื่อตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและการดำเนินการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ตามที่เห็นสมควร ในการนี้ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ

ให้ผู้ตรวจสอบตามวรรคสามจัดส่งผลประกอบการและงบการเงินให้สำนักงานและแสดงความเห็นภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี(วันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี)

 

ข้อ ๔๗  ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จัดทำงบการเงินพร้อมทั้งรายละเอียดประกอบตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี

ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สรรหาผู้ตรวจสอบบัญชีของกองทุนหมู่บ้านเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อขอความเห็นชอบในการทำหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด และให้ทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสมาชิก และสาธารณชน

 

ข้อ ๔๘  การจัดสรรกำไรสุทธิ เมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรตามระเบียบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด

การจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีที่ ๑ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน หมู่บ้าน และชุมชนโดยให้จัดสรรเป็นเงินสมทบกองทุน เงินประกันความเสี่ยง และเงินอื่นตามระเบียบกองทุนหมู่บ้าน  ทั้งนี้ ห้ามมิให้จัดสรรกำไรสุทธิตามส่วนการถือหุ้นของสมาชิก สำหรับเงินสมทบกองทุนและเงินประกันความเสี่ยงให้คงไว้ในบัญชีที่ ๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ในการจัดสรรกำไรสุทธิของบัญชีที่ ๑ เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้

เป็นกิจกรรมสำคัญของความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้าน

รายงานข่าวโดย Tnglaw

Posted on

ประชุมใหญ่สามัญประจำปีกองทุนหมู่บ้านสะเดียง ม.7

เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลสะเดียง กับการประชุมใหญ่สมาชิก

จากการเปิดเผยของเพจ Facebook ของ กองทุนหมู่บ้านไร่ ประธานพิสิทธิ์ ชัยวิริยะ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลสะเดียง แจ้งว่าวันที่16มกราคม2566 เวลา 17.00 น.ได้รับเชิญจาก นางอำนวย ปลัดท้วม ประธานกองทุนหมู่บ้านสะเดียง หมู่ที่ 7 ฯ ในการร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของกองทุนหมู่บ้านสะเดียง หมู่ 7ฯ  ในฐานะประธานเครือข่ายฯต.สะเดียง  นางอำนวย ปลัดท้วม ประธานฯ ได้ชี้แจงการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน ร่วมด้วยช่วยกัน ต.สะเดียง ในฐานะประธานเครือข่ายฯตำบล เป็นกิจกรรมประจำปี รายงานผลการดำเนินงาน งบการเงิน ในปีที่ผ่านมา  เลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ แทนกรรมการที่หมดวาระ และอนุมัติให้สมาชิกกู้ยืมเงินในปี 2566 

ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.2551 

หมวด ๗

การทำบัญชีและการตรวจสอบ

                  

 

ข้อ ๔๖  ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และจัดทำรายการรับ – จ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งและแจ้งให้สมาชิกทราบ รวมทั้งให้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานประจำปีรายงานต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการบริหารจัดการการเงิน การบัญชี และการพัสดุโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของสมาชิกเป็นหลัก

ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ เพื่อตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและการดำเนินการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ตามที่เห็นสมควร ในการนี้ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ

ให้ผู้ตรวจสอบตามวรรคสามจัดส่งผลประกอบการและงบการเงินให้สำนักงานและแสดงความเห็นภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี(วันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี)

 

ข้อ ๔๗  ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จัดทำงบการเงินพร้อมทั้งรายละเอียดประกอบตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี

ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สรรหาผู้ตรวจสอบบัญชีของกองทุนหมู่บ้านเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อขอความเห็นชอบในการทำหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด และให้ทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสมาชิก และสาธารณชน

 

ข้อ ๔๘  การจัดสรรกำไรสุทธิ เมื่อสิ้นปีบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรตามระเบียบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด

การจัดสรรกำไรสุทธิบัญชีที่ ๑ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน หมู่บ้าน และชุมชนโดยให้จัดสรรเป็นเงินสมทบกองทุน เงินประกันความเสี่ยง และเงินอื่นตามระเบียบกองทุนหมู่บ้าน  ทั้งนี้ ห้ามมิให้จัดสรรกำไรสุทธิตามส่วนการถือหุ้นของสมาชิก สำหรับเงินสมทบกองทุนและเงินประกันความเสี่ยงให้คงไว้ในบัญชีที่ ๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ในการจัดสรรกำไรสุทธิของบัญชีที่ ๑ เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้

เป็นกิจกรรมสำคัญของความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้าน

รายงานข่าวโดย Tnglaw