Posted on

ยุทธศาสตร์สามเหลี่ยม ขยับเขยื่อนกองทุนหมู่บ้านเพื่อบริการสาธารณะให้ ชุมชนหมู่บ้าน ได้รับบริการประสิทธิภาพ ทั่วถึง เป็นธรรม เพิ่มขึ้น

บริการสาธารณะ คืออะไร ?

การบริการสาธารณะ (Public Service) ซึ่งหมายถึง การบริการที่มีลักษณะการดำเนินการโดยระบบราชการมุ่งประโยชน์สุขและสวัสดิภาพของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญ การบริการในลักษณะนี้
ได้แก่ การบริการของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ เช่น การบริการสาธารณสุข การบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริการสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

บริการสาธารณะ กับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

ระบบนิเวศของระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยมีกองทุนหมู่บ้านเป็น บริการสาธารณะ ที่ดำเนินกิจการแทนรัฐ ตามนโยบายที่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นผู้กำหนด ซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมือง ที่ได้เป็นผู้บริหารประเทศ

“กองทุนหมู่บ้าน” เป็นประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว 
พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดให้จัดตั้ง “กองทุนหมู่บ้าน”ขึ้นในแต่ละหมู่บ้านหรือและชุมชนเมืองแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือสร้างประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆให้แก่
ประชาชนในหมู่บ้านอันเป็นประยชน์ร่วมกันของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านและเป็นประโยชน์สาธารณะที่รัฐจัดสรรให้โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือแสวงหากำไรดังเช่นการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินทั่วๆ ไป
จากการดำเนินการดังกล่าวคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ชาวบ้านหลายคนได้ใช้และได้รับประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านแต่ก็อาจมีบางคนที่ผิดหวังไม่ได้มี โอกาสใช้เงินจากกองทุน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการยื่นคำขอกู้เงินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการอนุมัติให้กู้เงิน เป็นต้น

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกับสามเหลี่ยมยุทธศาสตร์

สามเหลี่ยมยุทธศาสตร์ คืออะไร?

สามเหลี่ยมยุทธศาสตร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการในการสร้างคุณค่า ได้แก่ คุณค่าสาธารณะ อำนาจอนุมัติ และความสามารถในการดำเนินงาน แต่ละองค์ประกอบไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากทั้ง 3 องค์ประกอบสำคัญต่อความสำเร็จของภารกิจของคุณ ความท้าทายในที่นี้คือการรักษาสมดุลระหว่างองค์ประกอบทั้ง 3 ประการที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

คุณค่าสาธารณะ หมายถึง ผลลัพธ์ของการมุ่งแสวงหาคุณค่าสาธารณะคืออะไร?

อำนาจอนุมัติ  หมายถึง ใครเป็นผู้ให้การสนับสนุนและความชอบธรรมแก่ภารกิจของคุณ? คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่การสนับสนุนจะยั่งยืนและคงอยู่ต่อในระยะยาวได้หรือไม่?

ความสามารถในการดำเนินงาน หมายถึง คุณมีทรัพยากรในการดำเนินงานเพียงพอหรือไม่ (เช่น งบประมาณ บุคลากร การสนับสนุนด้านการบริหาร) ที่จะปฏิบัติภารกิจของคุณ? คุณสามารถระบุแหล่งที่มาของทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานของคุณทั้งภายในและภายนอกได้หรือไม่?

อำนาจอนุมัติ กับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

นับจาก พ.ศ. 2504 ประเทศไทยได้กำหนดให้มีแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ สังคมในช่วงแผนพัฒนาฯ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ และความต่อเนื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การพัฒนาใหม่ โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน ทั้งในฐานะ ผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา และเป็นผู้ได้รับประโยชน์ หรือผลกระทบโดยตรงจาก การพัฒนาจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมที่มี "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" และมีกระบวนการที่บูรณาการทุกด้านในการเชื่อมโยงกัน ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ให้มีความสามารถหรือประสิทธิภาพต่อการสร้างความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนและความ อยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
กว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน

จากกระบวนทัศน์ใหม่ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ และความต่อเนื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ กับปรัญญาของนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในการเสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง และเกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน เสริมสร้างการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนร ู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม รวมถึงการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน เกื้อกูลกัน

รัฐได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุน ๑ ล้านบาท เป็นแหล่ง เงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้หรือ เพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย การบรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วนและสำหรับการนำไปสู่การสร้างกองทุน สวัสดิการที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบการบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต และเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับในแผนพัฒนาฯฉบับบที่ 10 เป็นการมุ่งเสริมให้สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยวิธีปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนที่เข้มแข็งจึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยที่ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจะช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นองค์ความรวม มีกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ร่วมกันของคนในชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายตามภูมิสังคมด้วยทุนทางทรัพยากร และศักยภาพของชุมชน มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองอย่างพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกชุมชน บนพื้นฐานการเคารพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ะ

โดยสรุปได้เป็น 3 แนวทางหลัก

  1. การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
  2. การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน
  3. การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและยั่งยืน

23 ปี กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ผลสัมฤทธิ์ของการบริการสาธารณะ

ปัญหาและอุปสรรค

คณะกรรมการถูกฟ้อง ถูกยึดทรัพย์ เกิดจากอะไร

‘อดีตกรรมการ กทบ.’ ยกมือไหว้ ร่ำไห้’ วอนช่วยเหลือถูกยึดทรัพย์ใช้หนี้3.7 ล.แทนคนทั้งหมู่บ้าน… อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/region/news_4584644

ศูนย์ข่าวขอนแก่น-ชาวบ้านโร่ขึ้นโรงพักชุมแพ แจ้งจับประธานกองทุนหมู่บ้านโนนทองหลาง บริหาร 3 กองทุนกว่า 22 ปีไม่โปร่งใส ไม่ชี้แจงเงินคงเหลือ ไม่ให้สมาชิกกู้ ทั้งไม่นำเงินสมาชิกไปชำระหนี้ ล่าสุดธนาคารจ่อฟ้องคณะกรรมการทั้งหมด ผกก.สภ.ชุมแพเชื่อทุจริตจริง
เข้าข่ายยักยอกทรัพย์ได้ที่ 

https://mgronline.com/local/detail/9670000021062

ยึดทรัพย์! กรรมการกองทุนฯ เพราะสมาชิกเบี้ยวหนี้ ดูข่าวได้ที่

อ่านต่อ : https://www.thaich8.com/news_detail/1…

 

เนื่องจากผู้บริหารรัฐบาล ขาดความต่อเนื่องทางนโยบาย กองทุนหมู่บ้านถูกละเลยตรวจสอบกองทุนหมู่บ้าน จึงเกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเคยมีการทำแผนฟื้นฟูประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ระหว่าง วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 ดูแผนฟื้นฟูฯ ได้ที่ลิงค์ แต่ก็ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการ

http://www.villagefund.or.th/uploads/document/document_623084071eb7a.pdf

ตัวอย่างปัญหาที่ไม่เข้าใจกันเรื่องข้อมูลสมาชิก ซึ่ง มีปัญหาเรื่อง พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งสองฝ่ายต้องทำความเข้าใจกัน ว่า สทบ.สามารถเข้าถึงข้อมูล แค่ไหน และมีอะไรกะรันตี ว่าคณะกรรมการให้ข้อมุลไปแล้ว จะไม่ตกไปอยู่ในมือของนักธุรกิจ หรือ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ แล้วคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีสิทธินำข้อมูลของสมาชิก ไปเผยแพร่ได้แค่ไหน และถ้าคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านถูกฟ้องเรื่องการนำข้อมูลสมาชิกไปเผยแพร่แล้วเกิดความเสียหายกับสมาชิก คณะกรรมการต้องรับผิดชอบ เท่าไหร่เพียงใด และรัฐจะมีมาตรการ ช่วยเหลือด้านกฎหมายอย่างไรบ้าง

เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่เรารู้จัก กองทุนหมู่บ้าน เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนและอาชีพให้กับคนในหมู่บ้านชุมชน แต่ในไม่ช้านี้ กองทุนหมู่บ้าน กำลังจะได้รับการรีแบนนด์ใหม่ เปลี่ยนชื่อให้ทันสมัยเป็น BUD (บียูดี) ตั้งเป้าเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

Posted on

รายงานวิชาการ “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ”

รายงานวิชาการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

 การศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อให้นักวิเคราะห์งบประมาณของรัฐสภาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐผ่านการศึกษาและวิเคราะห์กองทุนหมุนเวียนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ระบบงานและกรอบอัตรากำลังสำนักงบประมาณของรัฐสภา โดยมุ่งเน้นศึกษาการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ผลการดำเนินงานและผลกระทบของกองทุนหมุนเวียนต่อกลุ่มเป้าหมาย

          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก” ให้มีความหลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการจัดตั้ง “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ” เสมือนเป็นการกระจายอำนาจในการบริหารประเทศในรูปแบบหนึ่งของรัฐบาลที่ประชาชนมีสิทธิในการบริหารงานอย่างอิสระ จึงนับว่าเป็นกองทุนหมุนเวียนที่น่าติดตามและควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกเหนือจากข้อดีที่เงินงบประมาณส่งตรงถึงมือประชาชนโดยตรง มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในการพัฒนาอาชีพ และสร้างรายได้ในชุมชนแล้ว กองทุนหมู่บ้านได้จัดตั้งมาแล้วสิบกว่าปี มีงบประมาณที่จัดสรรลงสู่หมู่บ้านและชุมชนจำนวนมาก ผู้ศึกษาจึงได้ค้นคว้า รวบรวม สถิติ ข้อเท็จจริง และศึกษากองทุนหมู่บ้านเพื่อนำเสนอตามหลักวิชาการให้เห็นภาพรวมของงบประมาณที่จัดสรรและผลกระทบของกองทุนต่อกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งศึกษาผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคของกองทุนหมู่บ้าน

          ผู้ศึกษาหวังว่า การศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินี้ จะเป็นรายงานวิชาการที่นอกจากจะเป็นการศึกษาการใช้จ่ายเงินงบประมาณผ่านการวิเคราะห์กองทุนหมู่บ้านแล้ว ผู้ศึกษาหวังว่าผลการศึกษาจะเป็นบทวิเคราะห์และข้อมูลประกอบการพิจารณาให้กับฝ่ายนิติบัญญัติคือ สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงประชาชนที่สนจ ตลอดจนเป็นข้อมูลและแนวทางในเชิงนโยบายในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างแท้จริงของกองทุนต่อไป

ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ

มกราคม 2558

Posted on

พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547

คำบรรยาย นี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ใช้ในการค้นคว้า เพิ่มพุนความรู้ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านให้เป็นไประเบียบกฎหมายและวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และใช้เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ในห้องเรียน กทบ. จัดทำโดยสมาคมกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชนเมืองและกลุ่มออมทรัพย์ villagefundassociation.com

Posted on

ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด

กองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในระเบียบกองทุนหมู่บ้านของตนเอง และสัญญากู้เงิน ค้ำประกัน ส่วนใหญ่ ก็จะใช้ แบบฟอร์มสัญญาเงินกู้ และสัญญาค้ำประกัน ที่มีต้นแบบจาก สทบ.

เมื่อกองทุนหมู่บ้านนำไปฟ้องคดี ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน จำเลยมักจะต่อสู้ว่า ” แม้โจทก์จะเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายก็มิได้หมายความว่า โจทก์จะเรียกเอาเงินที่ค้างชำระ และคิดเบี้ยปรับได้ตามอำเภอใจ เพราะการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านก็เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน มิใช่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ การที่นำเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ ๕๐ ( ห้าสิบสตางค์ ) มาคิดเรียกร้องเอากับจำเลยที่ ๒ จึงเป็นการนำองค์การมาหาผลประโยชน์ที่เกินกว่าความเป็นจริง และจำเลยที่ ๑ ก็ไม่เคยตกลงให้โจทก์คิดเบี้ยปรับร้อยละ .๕ ( ห้าสิบสตางค์ ) ตามที่โจทก์กล่าวอ้างโจทกจึงจะนำมาคิดเป็นจำนวนเงินที่จำเลยที่ ๑ ค้างชำระทั้งหมดไม่ได้ คงคิดได้เพียงจำนวนเงินที่หักจากการชำระหนี้แล้ว พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๘ ต่อปี เท่านั้น จำเลยที่ ๑ ไม่จำต้องรับผิดชอบตามฟ้องของโจทก์ องโจทก์เป็นการฟ้องโดยอาศัยความไม่ชอบด้วยกฎหมายมาดำเนินคดีกับประชาชน เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและต่อสังคมโดยรวม ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้องโจทก์เสีย ”

มีคำถามว่า การเรียกค่าปรับ ในอัตราสูง ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ???

เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นความผิดคดีอาญา มีโทษจำคุก กองทุนหมู่บ้านผิดกฎหมายหรือไม่ ????

การกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 วางหลักไว้ว่า ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
(๒) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือ
(๓) กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของหรือโดยวิธีการใด ๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงิน
ข้อมูลจาก : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4

เรื่องนี้มีคำตอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๒๓๖/๒๕๕๑ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านควนเมา โจทก์
นายย้อย นาคทอง จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา ๓๗๙,๖๕๔
พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ (เดิม)

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๖ จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ ๑๕,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเสร็จสิ้นภายในวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๗ จำเลยยอมรับผิดทั้งค่าติดตามทวงถามก่อนดำเนินคดีและเบี้ยปรับอัตราร้อยละ ๐,๕๐ ต่อวัน จากต้นเงินที่ผิดนัด จำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามกำหนด โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยต้องรับผิดชำระต้นเงินจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้องเป็นเวลา ๑ ปี ๒๒๐ วัน คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน ๒,๘๘๔ บาท ค่าติดตามถวงถามเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท และค่าเบี้ยปรับจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๘,๘๘๔ บาท ขอให้บังดับจำเลยชำระเงินจำนวน ๒๘,๘๘๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี จากต้นเงินจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า จำเลยได้กู้เงินจากโจทก์จริง แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนค่าทวงถามจำนวน ๑,๐๐๐ บาท และเบี้ยปรับ
จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เพราะโจทก์ไม่เคยทวงถามมาก่อน และในส่วนเบี้ยปรับวันละ ๑๐๐ บาท ก็มิได้กำหนดไว้ในสัญญากู้ หากจะ
เรียกเป็นดอกเบี้ยผิดนัดเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ ๐,๕๐ ต่อวันก็เป็นการเรียกร้องดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดตกเป็นโมฆะ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี จากต้นเงิน ๑๕,๐๐๐
บาท นับแต่วันฟ้อง (วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗) เป็นต้นไป จนกว่าชำระเสร็จ กับให้จำเลยใช้ค่าฤซาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ ๘๐๐ บาท
จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อตาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “เห็นว่า แม้ตาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่
การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของจำเลยแล้วไม่คัดด้านและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรดหนึ่ง แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๖ จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์จำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๗ หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์คิดค่าติดตามทวงถามก่อนดำเนินคดีและดอกเบี้ยผิดนัดเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ ๐,๕๐ ต่อวัน ของยอดเงินกู้ที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมดสิ้น ตามสัญญากู้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเอกสารหมาย จ.๒ และจำเลยผิดนัดไม่ชำระดันเงินและดอกเบี้ยตามกำหนด
มีปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่า ที่ตาลชั้นตันพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน ๕,๐๐๐ บาท เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ว่า ในสัญญากู้เงินมิได้ระบุเกี่ยวกับเบี้ยปรับไว้ การที่ศาลชั้นตันพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน ๕,๐๐๐ บาท เป็นการนอกเหนือข้อสัญญาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเอกสารหมาย จ.๒ ข้อ ๔ ระบุว่า “ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยตามงวดชำระภายในกำหนด……วัน นับแต่วันครบกำหนดงวดชำระ ผู้กู้ยินยอมให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ ๐,๕๐ ต่อวัน ของยอดเงินกู้ที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมดสิ้น” ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๐.๕๐ ต่อวัน สูงขึ้นกว่าอัตราที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญา จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากศาลเห็นว่าเบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วนก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗๙ และมาตรา ๓๘๓ วรรดหนึ่ง การที่ตาลชั้นตันพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์จึงหาได้เป็นการนอกเหนือจากข้อสัญญาไม่ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก็คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๐,๕๐ ต่อวัน หรือร้อยละ ๑๕ ต่อเดือน หรือร้อยละ ๑๘๐ ต่อปี เกินกว่าอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๕๔๗ ตกเป็นโมฆะนั้น เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเอกสารหมาย จ.๒ ข้อ ๒ ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี ซึ่งไม่เกินกว่าอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ส่วนข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๐,๕๐ ต่อวัน ตามสัญญาข้อ ๔ เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญา มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับหาใช่เป็นข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสัญญาที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ไม่ตกเป็นโมฆะดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๒๓๖/๒๕๕๑

Posted on

อำนาจฟ้องคดีของกองทุนหมู่บ้าน

เนื่องจาก จำเลยซึ่งเป็นประธานกองทุนหมู่บ้านโคกเจริญ ตำบลบ้านโคก กิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น เบิกเงินจัดสรรผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านประจำปี 2544, 2545 และ 2546 จำนวน 152,434 บาท ของกองทุนหมู่บ้านโคกเจริญ ผู้เสียหาย ไว้ในความครอบครองของจำเลย แล้วจำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต เหตุเกิดที่ตำบลบ้านโคก กิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญโดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลย

ต่อมาวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 จำเลยเข้าพบพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยและสอบสวนแล้ว ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมตัว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 152,434 บาท แก่ผู้เสียหาย

พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นประธานกองทุนหมู่บ้านโคกเจริญเบิกเงินจัดสรรผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านประจำปี 2544, 2545 และ 2546 จำนวน 152,434 บาท ของกองทุนหมู่บ้านโคกเจริญผู้เสียหาย ไว้ในความครอบครองของจำเลย แล้วจำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต เหตุเกิดที่ตำบลบ้านโคก กิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ต่อมาวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 จำเลยเข้าพบพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยและสอบสวนแล้ว ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมตัว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 152,434 บาท แก่ผู้เสียหาย

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญไม่มีสภาพเป็นบุคคล ไม่อาจเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน 48 ชั่วโมง นับแต่วันที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและมีการแจ้งข้อหาอันถือว่าจำเลยถูกจับโดยไม่มีการผัดฟ้องและไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญไม่อาจเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ากองทุนหมู่บ้านโคกเจริญเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่า กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญเป็นผู้เสียหายหรือไม่ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกของกองทุนกู้เพื่อนำเงินไปลงทุน โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งสมาชิกของกองทุนหมู่บ้านเป็นผู้เลือกตั้ง ดังนั้น กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาหรือไม่ก็ตาม แต่เงินจัดสรรผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านประจำปี 2544, 2545 และ 2546 เป็นเงินที่ได้มาจากการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน การที่จำเลยยักยอกเงินจัดสรรผลกำไรสุทธิดังกล่าวไป กองทุนหมู่บ้านโคกเจริญโดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจึงเป็นผู้เสียหายในอันที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้โดยถือว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความครอบครองของสมาชิกและจำเลย การร้องทุกข์ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านโคกเจริญจึงเป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

มีประเด็นในฎีกาของจำเลยที่ศาลฏีกาต้องวินิจฉัย

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า การที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยแล้ว ถือว่าเป็นการจับจำเลยหรือไม่ เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 237 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นบัญญัติว่า ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยเข้าพบพนักงานสอบสวนประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วจะหลบหนี (4) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด และแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว… ดังนั้น การจับกุมบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 237 ดังกล่าว การที่จำเลยถูกเรียก หรือส่งตัวมาหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเองหรือมาอยู่ต่อหน้าเจ้าพนักงานเป็นผู้ต้องหาและมีการแจ้งข้อหาให้ทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยเข้าพบพนักงานสอบสวน ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า

การที่จำเลยยักยอกเงินจัดสรรผลกำไรสุทธิที่ได้มาจากการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน ค. โดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจึงเป็นผู้เสียหายในอันที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โดยถือว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของกองทุนหมู่บ้าน ค. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของสมาชิกและจำเลย การร้องทุกข์ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจึงเป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2549 ระหว่าง พนักงานอัยการคดีศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ กับ จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

Posted on

ถอดเสียงให้เป็นอักษร

จากการประชุมของคณะอนุกรรมการแก้หนี้นอกระบบชุดเล็ก ผู้จัดทำเห็นว่ามีประโยชน์อย่างสูง สำหรับผู้ที่สนใจ คณะอนุกรรมการ ถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานกองทุนหมู่บ้านมานาน 21 ปี กลั่นออกมาเป็นบทเรียนให้ท่านนำไปศึกษาและทดลองปฏิบ้ติ สำหรับ เป็นแนวทาง การพัฒนาศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ

กองทุนหมู่บ้าน จากภาพ เป็นองค์กรดำเนินกิจการบริการสาธารณะแทนรัฐ ทำหน้าที่เหมือนไมโครไฟแนนซ์ แก้ปัญหาความยากจน เน้นพื้นที่ในชนบทหรือชุมชนที่ประชาชนเข้าไม่ถึงเงินเป็นระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นหรือเศรษฐกิจฐานราก เน้นเรื่องการพึ่งพาตนเองเน้นช่วยเหลือประชาชนรากหญ้า เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการ เน้นช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก เน้นในเรื่องการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน แล้วก็เน้นในเรื่องของการกระจายอำนาจ รวมทั้งการพัฒนาชุมชนด้วย การจะแก้ปัญหาอย่างนี้ปัญหามันใหญ่มากนะครับ คือจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการที่จะแก้ปัญหาตรงนี้ คือ เรามีของดี คือ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน เราก็วางโครงสร้างไว้ดีแล้วให้เครือข่ายเป็นสมาคมให้เครือข่าย เป็นนิติบุคคลเพื่อที่จะดำเนินการต่าง ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ปรากฏว่า ไปผมก็ได้พยายามตั้งกับท่านวิฑูรย์ ครับก็ตั้งสมาคมขึ้นมาใหม่เจตนาก็คืออยากจะให้มาแทนที่สมาคมเครือข่ายแห่งประเทศไทย ที่มารับผิดชอบทำหน้าที่ตามเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ..2547 ตรงนี้ อันนี้ท่านวิฑูรย์กับเราก็ตั้งความหวังแล้วผมว่ายังหวังจะให้มันเป็นอยู่อย่างนี้อีกตลอดไป

Posted on

รายการ ช่วยกันคุย ชวนกันคิด EP : 1

การประชุมนอกรอบ(ออนไลน์) แก้หนี้นอกระบบ

11 เม.ย.2566

จากการเปิดเผยของ

นายณัฏฐนันท์ สุรภาอรรถวิชญ์

ประธานสถาบันการเงินชุมชนหาดเจ้าสำราญนอก

ได้เชิญคณะทำงานและแขกรับเชิญเข้าร่วมประชุมนอกรอบแบบออนไลน์หัวข้อดังนี้

1.ขอบเขตของปัญหาหนี้นอกระบบ

2.กลุ่มคนที่เปาะบางที่สุดที่ได้รับผล กระทบจากปัญหานี้

3.แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

รายละเอียดการประชุมมีวิดิโอให้รับชม

การบรรยายโดย นายณัฏฐนันท์ สุรภาอรรถวิชญ์ ประธานสถาบันการเงินชุมชนหาดเจ้าสำราญนอก เรื่องการช่วยเหลือสมาชิกในการปลดหนี้นอกระบบ โดยบรรยายเน้นไปที่สถาบันการเงินชุมชนหาดเจ้าสำราญนอก เป็นต้นแบบ ซึ่งช่วยให้สมาชิกออมเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหนี้ซ้ำซ้อน สถาบันประสบความสำเร็จและเติบโตมากว่า 9 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมุ่งเน้นการสร้างวินัยทางการเงินและการออมให้กับสมาชิก นายณัฏฐนันท์ สุรภาอรรถวิชญ์ เสนอว่ากองทุนหมู่บ้านซึ่งมีทรัพยากรที่จำเป็นควรใช้โมเดลหาดเจ้าสำราญเพื่อช่วยให้สมาชิกสามารถออมเงินและชำระหนี้ได้ การบรรยายยังกล่าวถึงความสำคัญของการจัดการหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาสินเชื่อธนาคารที่มีความเสี่ยง

Posted on

กองทุนหมู่บ้านเป็นโครงการลดความยากจน

ปัญหาความยากจนในประเทศไทย

ความยากจนเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทซึ่งมีประชากรยากจนส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทย รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ได้ดำเนินโครงการและนโยบายต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ไขที่ต้นเหตุของความยากจนและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ยากไร้

วิธีการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทยมีดังนี้

                    โครงการสวัสดิการสังคม: รัฐบาลไทยได้ดำเนินโครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนคนยากจน รวมถึงโครงการโอนเงินสดและโครงการที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำ รัฐบาลยังได้แนะนำบริการด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาลฟรีเพื่อให้แน่ใจว่าคนจนสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานได้

                    โครงการพัฒนาชุมชน: โครงการพัฒนาชุมชนมุ่งเสริมศักยภาพชุมชนโดยให้เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริการพื้นฐาน และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น โครงการเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อแก้ไขต้นตอของความยากจน รวมถึงการขาดการศึกษา โอกาสในการทำงานที่จำกัด และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ

                    โครงการการเงินรายย่อย: โครงการการเงินรายย่อยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สินเชื่อและบริการทางการเงินแก่คนยากจน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท โปรแกรมเหล่านี้ช่วยสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก เพิ่มรายได้ และลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

                    โครงการพัฒนาการเกษตร: การเกษตรเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับครัวเรือนในชนบทหลายแห่งในประเทศไทย โครงการพัฒนาการเกษตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติทางการเกษตร เพิ่มผลผลิต และเพิ่มการเข้าถึงตลาดสำหรับเกษตรกรรายย่อย

                    การริเริ่มของภาคเอกชน: การริเริ่มของภาคเอกชน เช่น โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การลดความยากจนโดยการลงทุนในโครงการสวัสดิการสังคมและสนับสนุนการริเริ่มการพัฒนาชุมชน

                    โดยรวมแล้ว การแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทยต้องใช้แนวทางหลายด้านที่มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน เพิ่มศักยภาพชุมชน จัดหาการเข้าถึงสินเชื่อและบริการทางการเงิน และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นไปได้ที่จะลดความยากจนในประเทศไทยและปรับปรุงชีวิตของคนจน

อ่านเพิ่มเติมจาก E Book ครับ

Posted on

โครงการตลาดประชารัฐ อำเภอปากเกร็ด ของดีวิถีนนท์

ข่าวกองทุนหมู่บ้าน

ตลาดประชารัฐ อำเภอปากเกร็ด ของดีวิถีนนท์

การประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

 
จากการเปิดเผยผ่านเฟสบุ๊คเพจของ

ดร ภาสกร ฐิติธนาวนิช

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2566 มีการประชุมคณะกรรมการโครงการ

“ตลาดประชารัฐ อำเภอปากเกร็ด ของดีวิถีนนท์” ครั้งแรก ภายหลังเข้ารับตำแหน่งใหม่ ดร ภาสกร ฐิติธนาวนิช  ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า ที่ผ่านมา ปัญหา วิกฤตโรคระบาด โควิด 2019  ได้ทำให้ตลาดประชารัฐ อำเภอปากเก็ด ของดีวิถีนนท์ ประสพปัญา มาตลอด 3 ปี  เมื่อตนเองได้เข้ามาเป็นผู้บริหาร ก็จะเข้าดำเนินการแก้ไขวิกฤต  ภายหลังสถานการณ์วิกฤตจากโรกระบาดโควิด  2019  ผ่านพ้นไปแล้ว 
โดยมีการประชุมภายในบริเวณตลาดศรีปากเกร็ด(ตลาดผ้า)หรือตลาดต้นโพธิ์ คนปากเกร็ดเค้ารู้จักกันดี….
ที่ผ่านมาอาจเจอวิกฤตมากมาย แต่ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ตั้งเป้าหมายและหาวิธีการที่ชัดเจนเพื่อกำหนดทิศทางในการบริหารงานหาทางรอดอย่างมั่นคงและยั่งยืน…..
#Move On#
#Mission Impossible #
Posted on

การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากในประเทศไทยด้วยการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ”