Posted on

โครงการ พัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน(SML)

เปิดทางสู้! กองทุนหมู่บ้าน 2568 โอกาสใหม่เพื่อชุมชนมั่นคง

🚀 เปิดทางสู้! กองทุนหมู่บ้าน 2568 โอกาสใหม่เพื่อชุมชนมั่นคง

ชุมชนร่วมใจพัฒนา

ชุมชนร่วมใจพัฒนา: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (สำหรับชุมชนชนบท)

"ชุมชนร่วมใจพัฒนา" ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรู แต่คือแนวทางที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์ชุมชนของเราให้ดีขึ้นได้ด้วยมือของเราเอง ลองนึกภาพดูว่า ถ้าเราทุกคนในหมู่บ้าน ร่วมมือกันคิด ร่วมกันทำ จะเกิดอะไรขึ้น?

🔍 5 จุดเด่นกองทุน SML ปี 68 ที่ชาวกองทุนหมู่บ้านต้องรู้!

  • ✅ ใช้งบตามจำนวนประชากร 3 ขนาด (เล็ก-กลาง-ใหญ่)
  • ✅ สร้างงาน-เพิ่มทักษะอาชีพทุกด้าน ทั้งผลิต-แปรรูป-ตลาด
  • ✅ จัดซื้อจัดจ้างแบบยืดหยุ่น ไม่ต้องตามระเบียบราชการ
  • ✅ ใช้งบร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียงได้
  • ✅ ตรวจสอบโปรงใส 4 ชุด คณะทำงานคุมเข้ม

⏰ ระยะเวลาสำคัญ

    กทบ การเตรียมความพร้อมล่วงหน้า มีชัยไปกว่าครึ่ง โครงการสนับสนุน เสริมสร้าง ศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมั่นคง

  • ✅ เตรียมพร้อมก่อนยื่นขอรับโครงการ เตรียม สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล + รับรองสำเนาถูกต้อง เตรียม สำเนางบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปี 2566 และปี 2567 เตรียม สำเนาบันทึกการประชุมฯ หรือเอกสารที่มีมติรับรองการคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน (ชุดปัจจุบัน) หาก หมควาระ ให้รีบดำเนินการจัดเลือกใหม่ เตรียม สร้างการรับรู้ ให้สมาชิก และครัวเรือน ได้รับทราบล่างหน้าทั่วถึง
  • ✅ เตรียมพร้อมเมื่อมีประกาศฯ รอแบบฟอร์มฯ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือนำส่ง/คำขอโครงการ/ รายงานประชุมประชาคม/ใบลงทะเบียน/รายชื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน/และอื่นๆ รวบรวมเอกสาร ตามขอ 1. และ ข้อ 2. ส่งตามช่องทางที่กำหนด
  • ✅ เตรียมดำเนินการหลังได้รับงบประมาณ เตรียมเก็บเงินจากผู้รับจ้าง (ร้อยละ 1) หักภาษี ณ ที่จาย ส่งสรรพากรพื้นที่ รายงานหลังการเบิกจ่ายเงิน (ภายใน 30 วัน) รายงานเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น (กายใน 30 วัน) รายงานเมื่อดำเนินโครงการ (ครบ 6 เดือน)

📊 วงเงินจัดสรรตามขนาดชุมชน

ขนาดวงเงินตามจำนวนประชากร

เล็ก (≤500 คน: 3 แสนบาท | กลาง (501-1,000 คน): 4 แสนบาท | ใหญ่ (≥1,001 คน): 5 แสนบาท

📝 4 ขั้นตอนขอเงินทุนแบบง่ายๆ

  1. จัดประชุมหมู่บ้าน (ต้องมีผู้แทนครึ่งครัวเรือน + สมาชิกครึ่งกองทุน)
  2. เสนอโครงการผ่านระบบออนไลน์/เอกสาร
  3. รอตรวจสอบคุณสมบัติ (3 วันทำการ)
  4. รับโอนเงินผ่านธนาคารเป้าหมาย

💡 ต้นแบบโครงการเด็ด!

🏭 โครงการ ต่อยอดศูนย์ออกกําลังกายชุมชน งบประมาณ 47,380 บาท พื้นที่ดําเนินการ ชุมชนตาชี เทศบาลตําบลห้วยยอด อําเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประธานกลุ่ม/โครงการ นายเทิดศักดิ์ หิรัญวัฒนะ

Posted on

เงินกองทุนหมู่บ้านสามารถถูกยึดได้ไหม?

เงินกองทุนหมู่บ้าน ใครเป็นเจ้าของ? เจ้าหนี้จะมายึดได้หรือ

เงินกองทุนหมู่บ้าน ใครเป็นเจ้าของ? เจ้าหนี้จะมายึดได้หรือไม่ ?

หลายครั้งที่เราได้ยินข่าวว่าเจ้าหนี้พยายามที่จะยึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ แต่ทรัพย์สินบางอย่างก็ไม่สามารถถูกยึดได้ตามกฎหมาย หนึ่งในนั้นคือ "เงินกองทุนหมู่บ้าน"

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๗/๒๕๖๗ ได้ตัดสินเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างชัดเจน โดยศาลฎีกาเห็นว่าเงินในบัญชีของกองทุนหมู่บ้าน ไม่ใช่เงินของจำเลยที่เป็นหนี้ แต่เป็นเงินของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ

กองทุนหมู่บ้านมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือการเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ และช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้าน ดังนั้น เงินทุนเหล่านี้จึงต้องถูกใช้ไปในทางที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด

    คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๒๒๗/๒๕๖๗ วันที่ ๒๓ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๗

    ความแพ่ง

    ระหว่าง

    นายอ้วน สุรินทร์ ที่ ๑ นายสุริยนต์ จันต๊ะ ที่ ๒ โจทก์

    ธนาคารออมสิน ผู้คัดค้าน

    กองทุนหมู่บ้างหนองฮ่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำเลย

    เรื่อง ตัวแทน (ชั้นบังคับคดี)

    จำเลย ฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๕ ลงวันที่ ๑๗ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕

    ศาลฎีกา รับวันที่ ๑๐ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖

    คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองคนละ ๒๓๔,๗๘๘.๕๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษายืน จำเลยยื่นคำร้องร้องขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง

    โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องว่า โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้มีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่เปิดไว้กับ ผู้คัดค้าน บัญชีเลขที่ ที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๘๙,๐๐๐ บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปยังผู้คัดค้านแล้ว แต่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า เงินฝากของจำเลยในบัญชีดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕) และผู้คัดค้านไม่ส่งเงินฝากของจำเลยในบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ทั้งสองเห็นว่าตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๔ ระบุว่าจำเลยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ดังนั้น เงินฝากของจำเลยจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินที่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัด แต่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ขอให้ผู้คัดค้านสูงเงินฝากของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองขออายัดรวมเป็นเงิน ๒๘๙,๐๐๐ บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หากไม่ส่งขอให้ผู้คัดค้านชำระค่าสินไหมทดแทนเท่าจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสองตามประมวงกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๒๑

    จำเลยยื่นคำร้องและคำคัดค้านในทำนองเดียวกันว่า เงินที่โจทก์ทั้งสองขออายัดทั้งสองบัญชีไม่ใช่เงินของจำเลย แต่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินเพราะเงินในบัญชีแรกเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้นำมาจัดสรรอุดหนุนแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยบริหารจัดการแทนรัฐบาล ส่วนเงินในบัญชีที่สองเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากไว้กับจำเลยซึ่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๖ (๓) บัญญัติให้เงินดังกล่าวเป็นทุนและทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินการของจำเลย จึงไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองและมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าว

    ผู้คัดค้านอื่นคำคัดค้านว่า จำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐ เงินในบัญชีของจำเลยเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสอง

    โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของจำเลยว่า จำเลยไม่ได้มีฐานะเป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยทั้งสองบัญชีจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผนดินที่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัด ขอให้ยกคำร้องของจำเลย

    ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำสั่งเพิกถอนการอาอัดเงินในบัญชี ธนาคารออมสิน สาขาฝาง ชื่อบัญชีกองทุนหมู่บ้านหนองฮ่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ บัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ

    โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษากลับให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยที่ฝากธนาคารออมสิน สาขาฝาง บัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐๐ บาท และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน๑๙๐,๐๐๐ บาท ตามคำขอของโจทก์ทั้งสองหากธนาคารออมสิน ผู้คัดค้าน ไม่ส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสองแทน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน ๒๐๑ บาทแก่โจทก์ทั้งสอง

    จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

    ศาลฎีกาตรวจสำนวน ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษา ใจทก์ทั้งสองตรวจพบว่าจำเลยมีเงินในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน บัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยได้รับอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และบัญชีเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการถอน รวมสองบัญชีเป็นเงิน ๒๘๙,๐๐๐ บาท โจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือฉบับลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ถึงผู้คัดค้านขอออายัดเงินทั้งสองบัญชีให้ผู้คัดค้านส่งเงินทั้งสองบัญชีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ผู้คัดค้านไม่ส่งเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและมีหนังสือลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ถึงเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งว่า เงินทั้งสองบัญชีเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยืดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕)

    ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าเงินในบัญชีเงินฝากทั้งสองบัญชีของจำเลยที่โจทก์ทั้งสองขออายัดเป็น และเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองจะบังคับคดีได้หรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้าน ตามมาตรา ๓ ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องดำเนินการยื่นคำขอจัดตั้งและจดทะเบือนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนทนหมู่บ้านและชุมชนมืองแห่งชาติกำหนด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.๒๕๔๙ จำเลยจึงมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ (๑) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (๒) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อธรรเท่าความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (๓) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (๔).. (๕)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา ๒๙ กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการปรากฏตามมาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้แก่ (๑) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดสรรให้ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (๔) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (๔) ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหม้าน ทั้งนี้ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นั้น มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น “หน่วยงานของรัฐ” และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๑๑ และกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ จึงเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าว มาตรา ๑๒ ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชวติ พ.ศ.๒๕๔๗ ก็บัญญัติว่าต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือผลประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การที่ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ" ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ก็เห็นความคลองตัวทางการเงินอันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตาม มาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง แห่งวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ ที่บัญญัติว่า “บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราช ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น" ดังนั้นเงินฝากในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน เลขที่ ๐๕๐๖๗๐๙๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเสียเพื่อเป็นเงินอุดหนุนจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕) ส่วนเงินฝากในบัญชีเงินฝากเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมก็เป็นเงินฝากของสมาชิกที่นำมาฝากตามวัตถุประสงค์ของการจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชน ในหมู่บ้านตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชย์กรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิไม่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๓ และมาตรา ๓๑๖ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลยทั้งสองปัญชีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง และให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

    พิพากษากลับเป็นให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน ๒๐๐ บาท แก่โจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

    นายสุวิทย์ พรพานิช

    นายสถาพร ดาโรจน์

    นายสุจินต์ เชี่ยวชาญศิลป์
  • พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗: มาตรา ๕, ๖, ๑๑, ๑๒, ๑๔ (วัตถุประสงค์, ประเภทเงินทุน, สถานะกองทุน)
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: มาตรา ๑๓๐๗ (ทรัพย์สินของแผ่นดิน)
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง: มาตรา ๓๐๑ (๕), ๓๐๓, ๓๑๖ (การบังคับคดี, ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิด)
  • กองทุนหมู่บ้านคือนิติบุคคล: จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะ ไม่ใช่นิติบุคคลตาม ป.พ.พ.

    โดยศาลได้วินินฉัยประเด็นนี้ใจความ "จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้าน ตามมาตรา ๓ ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องดำเนินการยื่นคำขอจัดตั้งและจดทะเบือนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนทนหมู่บ้านและชุมชนมืองแห่งชาติกำหนด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.๒๕๔๙ จำเลยจึงมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗

    กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นั้น มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น “หน่วยงานของรัฐ” และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๑๑ และกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ จึงเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน "
  • เงินกองทุนมีหลายประเภท: เงินรัฐจัดสรร, เงินอุดหนุน, เงินสมาชิก, เงินบริจาค

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า"โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าว มาตรา ๑๒ ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชวติ พ.ศ.๒๕๔๗ ก็บัญญัติว่าต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือผลประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การที่ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ" ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ก็เห็นความคลองตัวทางการเงินอันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตาม มาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง แห่งวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ ที่บัญญัติว่า “บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราช ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น" ดังนั้นเงินฝากในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน เลขที่ ๐๕๐๖๗๐๙๔๔๕๗๗ จำนวน ๙๙,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเสียเพื่อเป็นเงินอุดหนุนจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๗ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา ๓๐๑ (๕) ส่วนเงินฝากในบัญชีเงินฝากเลขที่ ๐๕๐๖๗๐๗๔๖๓๔๑ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมก็เป็นเงินฝากของสมาชิกที่นำมาฝากตามวัตถุประสงค์ของการจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชน ในหมู่บ้านตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชย์กรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิไม่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๐๓ และมาตรา ๓๑๖ "

  • ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัว: มีไว้ช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่ของกรรมการหรือสมาชิก
  • เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ยึด: เงินกองทุนไม่ใช่เงินของจำเลยที่เป็นหนี้

ดังนั้น หากใครที่กำลังสงสัยว่าเจ้าหนี้จะสามารถมายึดเงินกองทุนหมู่บ้านได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะเงินเหล่านี้ไม่ใช่เงินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เป็นเงินของส่วนรวมที่ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหมู่บ้านได้มากขึ้นนะครับ

คำสำคัญ: กองทุนหมู่บ้าน, เงินอุดหนุน, ทรัพย์สินของแผ่นดิน, การบังคับคดี, เจ้าหนี้, ลูกหนี้

Posted on

ลงพื้นที่ดันกองทุนชนเผ่า

แชร์

"อมก๋อยเร่งฟื้น 44 กองทุนหมู่บ้านฯ หลุดเพิ่มทุน 'ล้านที่ 2' หลังหยุดบริหาร-หนี้สะสม-ปัญหาภาษาพุ่ง!

เตรียมแผนลงพื้นที่ดันกองทุนชนเผ่าพร้อมลุยถนนสุดโหด

จังหวัดเชียงใหม่ – สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สาขาเขต 1 ร่วมกับเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดและอำเภออมก๋อย ประกาศแผนลงพื้นที่แก้ไขปัญหากองทุนหมู่บ้าน 44 แห่งในอำเภออมก๋อยที่ยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุนระยะที่ 2 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะกลุ่มกองทุนที่บริหารงานหยุดชะงัก สมาชิกไม่ชำระหนี้ และเผชิญปัญหาความท้าทายเชิงพื้นที่แบบเฉพาะตัว

สถานการณ์กองทุนหมู่บ้านอมก๋อย: ปัญหาเรื้อรังที่ต้องเร่งแก้

อำเภออมก๋อยมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งหมด 95 กองทุน แต่มี 44 กองทุนที่ยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุนระยะที่ 2 (1 ล้านบาท) ตามนโยบายเดิมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยส่วนใหญ่เป็นกองทุนของชนเผ่าพื้นเมืองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร หลายกองทุนหยุดการบริหารจัดการมานานหลายปี ส่งผลให้:

  1. สมาชิกไม่ชำระหนี้: เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนหยุดทำงาน บางส่วนไม่ยอมปล่อยกู้แม้บัญชียังมีเงินหลักล้านบาท

  2. งบดุลไม่ปิด: การไม่สรุปบัญชีประจำปีทำให้ขาดความโปร่งใส

  3. อุปสรรคด้านภาษา: ต้องใช้ล่ามหรือผู้นำชุมชนช่วยสื่อสาร เช่น กรณีคลิปวิดีโอผู้ใหญ่บ้านจับไมค์อธิบายให้สมาชิกชนเผ่าเข้าใจ

แผนลงพื้นที่ฟื้นฟู: เตรียมความพร้อม-สลายทางตัน

ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเครือข่ายกองทุนฯ ระดับตำบลและอำเภอ เตรียมลงพื้นที่เพื่อ:

  • กระตุ้นการบริหารงาน: สนับสนุนให้คณะกรรมการกองทุนเร่งประชุมสมาชิก เตรียมเอกสารขอรับเงินเพิ่มทุน

  • แก้ปัญหาหนี้ค้าง: ประสานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ระดมกลไกปรับโครงสร้างหนี้

  • สร้างระบบติดตาม: นำเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบการชำระเงินและปิดงบดุล

ความท้าทายเชิงพื้นที่: จากถนนสุดโหดถึงกำแพงภาษา

  • การเดินทางยากลำบาก: แม้ในฤดูแล้ง ถนนในอมก๋อยยังขรุขระ ส่งผลให้การเดินทางไปติดต่อธนาคารหรือหน่วยงานรัฐใช้เวลานาน

  • ปัญหาภาษาและวัฒนธรรม: ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าที่ใช้ภาษาท้องถิ่น จำเป็นต้องอาศัยล่ามหรือผู้นำชุมชนเป็นสื่อกลาง

    • ขาดแคลนบุคลากร: ข้าราชการในพื้นที่ไม่คล่องภาษาชนเผ่า ขาดการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่นในกระบวนการพัฒนา

น้อง ผู้หญิง เป็น ลูกจ้าง เครือข่ายฯ ระดับอำเภออมก๋อย เป็น เชื้อสาย ชนเผ่า พูด&ฟัง ภาษา ออก น่าเห็นใจมากๆๆ ทำงาน ทุ่มเท มากกว่า รับผิดชอบ มากกว่า!!พนง. ลูกจ้าง สทบ หลายกี่โลขีด แต่ ทราบว่า ไม่ได้รับ เงินเดือน/ค่าตอบแทน จากการทำงาน มา 3 เดือนแล้ว!!!โอ! !!!พระเจ้า!!!!

เสียงสะท้อนจากพื้นที่: “ผู้บริหารต้องลงมาเห็นของจริง!”

ผู้ใหญ่บ้านในอมก๋อยรายหนึ่งเผยว่า “ผู้บริหารระดับสูงนั่งทำงานบนหอคอยงาช้าง ควรมาสัมผัสปัญหาเองบ้าง จะได้เห็นว่าการบริหารกองทุนในพื้นที่แบบนี้ไม่ใช่แค่ตัวเลขในรายงาน!” พร้อมยกตัวอย่างกรณีที่คณะทำงานต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเดินทางเพียงเพื่อชี้แจงนโยบายให้ชนเผ่าเข้าใจ

บทส่งท้าย:

ปัญหากองทุนหมู่บ้านในอมก๋อยสะท้อนความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรของชนเผ่าพื้นเมือง การแก้ไขต้องเริ่มจากการรับฟังเสียงชุมชนและออกแบบนโยบายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ควบคู่กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่นในกระบวนการตัดสินใจ — เพราะการพัฒนาที่แท้จริงต้อง “เห็นคนเป็นศูนย์กลาง”

By T.law

Posted on

หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวกองทุนหมู่บ้าน

หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย

รายละเอียดเพิ่มเติม หลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Professional Thai Chef)

หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย

หลักสูตร THACCA Academy หลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Professional Thai Chef) คลิ๊กที่ลิงค์ด้านล่างนี้เพื่ออ่านรายละเอียดได้เลย http://clinictech.ops.go.th/…/Master%20Thai%20Chef…
👉ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://drive.google.com/…/1Hy6XIuD2g12qlyVTq…
Posted on

อบรมการใช้ระบบบริหารกองทุนหมู่บ้าน(VMF)

Posted on

มาตรฐาน “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่”

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

นโยบายนี้ยังคงต่อเนื่องอยู่หรือไม่ ? เมื่อมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว

รัฐบาลโดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนก่อนที่รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับดูแลกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งาติ ได้มีนโยบาย ด่วน  เร่งตรวจสอบ “สถานะกองทุนหมู่บ้าน” เพื่อจัดระดับมาตรฐาน และแนวทางพัฒนา ยกระดับเป็น “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่” . คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เผยผลการประชุม ครั้งที่ 1/66 พบว่า มีหลายกองทุนที่ไม่มีการดำเนินงานแล้ว บางกองทุนประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น . หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะเร่งดำเนินการสำรวจ และจัดระดับมาตรฐานการดำเนินงานของกองทุน คัดเกรดกองทุนทั่วประเทศ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือต่อไป . ส่วนกองทุนที่ “ไม่มีการดำเนินงานแล้ว” อาจต้องพิจารณาหาตัวบทกฎหมายมาทบทวนว่าจะยุติการดำเนินงาน หรือปรับปรุงพัฒนาต่อ ตามแนวทางการบริหารงานของรัฐบาลที่มุ่ง “เพิ่มรายได้ให้ชุมชน” จนสามารถพลิกโฉมสู่การเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่ ที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างแท้จริง . อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/76109 #ไทยคู่ฟ้า #สื่อสารรัฐบาลไทย ——————-

“พวงเพ็ชร ”เอาจริง ลั่นเช็คบิลสถานะกองทุนหมู่บ้าน ดันคนรุ่นใหม่คุมกองทุนทั่วประเทศ

“พวงเพ็ชร ”เอาจริง ลั่นเช็คบิลสถานะกองทุนหมู่บ้าน ดันคนรุ่นใหม่คุมกองทุนทั่วประเทศ

 

วันนี้ (14 ธันวาคม 2566) เวลา 10.00 น. นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายวราวุธ ยันต์เจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสุภาภรณ์   คงวุฒิปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการเข้าร่วม

วันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่คณะอนุกรรมการชุดใหม่ได้ประชุมร่วมกัน ซึ่งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 โดยมี นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้รายงานการดำเนินงานของกองทุนฯ รวมถึงโครงการสำคัญที่รัฐบาลขับเคลื่อน เช่น โครงการสร้างการรับรู้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทะเบียน และพัฒนาระบบการลงทะเบียนเข้าร่วมศูนย์บ่มเพาะ One Family One Soft Power (OFOS) ภายใต้ยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติ และ โครงการ “โคเงินล้าน” นำร่อง ระยะที่ 1 รวมถึงได้รายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนชุมชนเมือง ในพื้นที่ และการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ

นางพวงเพ็ชร กล่าวว่า จากรายงานการดำเนินงาน พบว่ามีหลายกองทุนที่ไม่มีการดำเนินงานแล้ว  บางกองทุนประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ บางกองทุนมีการบริหารจัดการที่ดี จึงได้สั่งการให้ สทบ. เร่งดำเนินการสำรวจ เพื่อจัดระดับมาตรฐานการดำเนินงานของกองทุน คัดเกรดกองทุนทั่วประเทศ เพื่อนำมาพิจารณาแนวทางการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ ส่วนกองทุนที่ No Active หรือ ไม่มีการดำเนินงานแล้ว อาจต้องพิจารณาหาตัวบทกฎหมายมาทบทวนว่าจะยุติการดำเนินงาน หรือปรับปรุงพัฒนาได้อย่างไร ทั้งนี้ ขอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานและติดตามสำรวจอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันขอให้ทาง สทบ. ดำเนินโครงการต่างๆ ตามแนวทางการบริหารงานของรัฐบาล  “เพิ่มรายได้ให้ชุมชน” เพื่อพลิกโฉมสู่การเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองยุคใหม่ ที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างแท้จริง

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/76109

BUD แบนด์ใหม่ กับกองทุนหมู่บ้าน

เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่เรารู้จัก กองทุนหมู่บ้าน เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนและอาชีพให้กับคนในหมู่บ้านชุมชน แต่ในไม่ช้านี้ กองทุนหมู่บ้าน กำลังจะได้รับการรีแบนนด์ใหม่ เปลี่ยนชื่อให้ทันสมัยเป็น BUD (บียูดี) ตั้งเป้าเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

Posted on

ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่.

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวกองทุนหมู่บ้าน

จากการเปิดเผยของ นายวิทูรย์ มูลภิชัย  ประธานสถาบันการเงินชุมชนแม่ขักพัฒนา แจ้งว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

ปัญหากองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ หมู่ที่ 2 ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ หลังจากคณะกรรมการชุดเก่า ได้ไปกู้เงินธนาคารออมสิน แต่ไม่มีเงินจ่ายหนี้ และพบความผิดปกติ ค้างชำระภายในกองทุนกว่า 4 ล้านบาท ล่าสุดสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามและแก้ปัญหาดังกล่าว

รายการสถานีประชาชน ยกทัพทีมงานลงพื้นที่สัญจรที่วัดน้ำแพร่ ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ล้อมวงคุยสะท้อนความเดือดร้อน พร้อมผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกร่วมกัน ดังนี้

1. นายสุขสันต์ ใบแสง ประธานกรรมการ กองทุนหมู่บ้านน้ำแพร่ หมู่ที่ 2 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด

2. นายวิทูร มูลภิชัย ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านสถาบันการเงินชุมชนแม่ขัก

3. นายนิพนธุ์ ทิพย์ศร หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพด้านกฎหมาย ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)

4. นายจักรินทร์ สิรินทรภูมิ นายอำเภอดอยสะเก็ด

5. นายณรงค์ ศรีระสันต์ อัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด และรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด

ติดตามรายละเอียดได้ในรายการสถานีประชาชน วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 14.05 – 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส

#ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 #สถานีประชาชน #ทุกข์ปัญหามีทางออก

———————————-

Posted on

“หอมดนตรี”จัดกิจกรรมประกวดร้องเพลงชิงเงินรางวัล 30,000 บาท

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวตลาดประชารัฐ

จากการเปิดเผยของ ดร ภาสกร ฐิติธนาวนิช ประธานตลาดประชารัฐ อำเภอปากเกร็ด ของดีวิถีนนท์”แจ้งว่าตลาดประชารัฐจัดกิจกรรม ห้องดนตรี ของตลาดฯ ห้อง“หอมดนตรี”จัดกิจกรรมดีๆคืนความสุข เปิดโอกาสให้FCได้โลดแล่นบนเวทีแสดงความสามารถในการร้องเพลงทีตนเองหลงไหล สร้างความสุขแก่ผู้ฟัง ชิงรางวัลรวมกว่า30,000บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม…..ฝากแชร์ด้วยครับ
#ปากเกร็ด#นนทบุรี#
#ลูกค้าจอดรถฟรี 1 ชั่วโมง
Posted on

“เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่”รอต้อนรับนายกฯเศรษฐา  เยี่ยมชมโครงการคลองสวยน้ำใส คนไทยมีสุข ณ สวนสาธารณะสิริสุขนันทน์ สันทราย จ.เชียงใหม่

ปุ่มสำหรับแชร์

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email
Telegram
Threads
WhatsApp
Print

ข่าวเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน

Posted on

จากนโยบายสาธารณะนำไปสู่การปฏิบัติ

บทความวิชาการ

การนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีกองทุนหมู่บ้าน โดย นายสนอง จันทนินทร
รายงานวิชาการส่วนบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 1 สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2545 ลิขสิทธิ์ของสถาบันพระปกเกล้า ( ด้วยความเคารพเป็นอย่าง จึงขออนุญาตเผยแพร่ให้เป็นวิทยาทานแก่คณะกรรมการและสมาชิก มา ณ ที่นี้ด้วย )